การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์ที่มีต่อพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • เปรม ป้อมกระโทก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วีระยุทธ์ กองโชค คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ประชา แสนปรางค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์, การพัฒนาด้านร่างกาย, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3-4 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเปรมฤทัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ตำบลพะยอม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเลือกกลุ่มทดลอง คือ เด็กระดับปฐมวัยที่มีปัญหาการพัฒนาด้านร่างกาย จำนวน 5 คน โดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์ ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที รวมระยะเวลาทั้งหมด 12 ครั้ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์ 12 แผน และแบบทดสอบพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยในแต่ละด้าน ได้แก่ 1) ด้านการทรงตัว จำนวน 5 ข้อ 2) ด้านการเดินจำนวน 5 ข้อ 3) ด้านการวิ่ง จำนวน 5 ข้อ และ 4) ด้านการกระโดด จำนวน 5 ข้อ รวม 20 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า หลังการทดลองการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะประกอบอุปกรณ์ เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายสูงกว่าก่อนการทดลอง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านการทรงตัวเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับมาก 2) ด้านการเดินเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับมาก 3) ด้านการวิ่งเด็กมีพัฒนาการอยู่ในระดับมาก และ 4) ด้านการกระโดดเด็ก มีพัฒนาการอยู่ในระดับมาก

References

กาญจนา เพ็ชรตะกั่ว. (2557). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(2), 134-139.

ฐิติมาพร ชัยสมุทร. (2556). ผลของการใช้กิจกรรมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 โรงเรียนอันนาลัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal (กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(3), 186-192.

ณภคกร เจะเลาะ. (2563). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะเพื่อพัฒนาลักษณะความเป็นผู้นำในเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(8), 55-66.

พรพิมล เวสสวัสดิ์ และ ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะโดยใช้แนวคิดการเต้นเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอนุบาล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(2), 63-73.

มณีรัตน์ ลีลา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นบ้านสาธิต โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ระวิวรรณ แซ่หลี. (2558). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลางโดยใช้โปรแกรมการฝึกเพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดใหญ่. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ, มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา).

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2562). แผนงานวิจัยการปฏิรูปสุขภาวะและการพัฒนาเด็กไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุภาพรรณ ศรีสุข. (2561). กล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำคัญอย่างไรต่อการเรียนรู้ของลูก. สืบค้น 16 สิงหาคม 2565. จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/69805/-blogparpres-par.

Bloom, Benjamin S., et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Piaget, J. (1952). The origin of intelligence in children. New York: W.W. Norton.

The Wonder Admin. (2562). Music & Movement | การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกับเด็กปฐมวัย. สืบค้น 20 ตุลาคม 2565. จาก https://thewonderstudio.co/2019/03/12/musicmovement.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-12