แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มศรีพุทธ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, ยุคดิจิทัล, หลักอิทธิบาท 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนกลุ่มศรีพุทธ จังหวัดสมุทรปราการ (2) ศึกษาวิธีการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มศรีพุทธ จังหวัดสมุทรปราการ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มศรีพุทธ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอน จำนวน 217 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนกลุ่มศรีพุทธ จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา และด้านการบริหารงานหลักสูตร ตามลำดับ
วิธีการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มศรีพุทธ จังหวัดสมุทรปราการ ดังนี้ 1) ด้านการบริหารงานหลักสูตร มีการกำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นให้เหมาะสม 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน สร้างและพัฒนานวัตกรรมในบทเรียนมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย 3) ด้านการวัดผลและประเมินผล มีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการวัดผลและประเมินผล 4) ด้านการจัดสื่อการเรียนการสอน มีการใช้สื่อออนไลน์และบทเรียนสำเร็จรูป และ 5) ด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา มีการกำหนดนโยบายและสนับสนุนให้มีการนิเทศให้เหมาะสม
แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนกลุ่มศรีพุทธ จังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ 1) ฉันทะ 2) วิริยะ 3) จิตตะ 4) วิมังสา ควรนำมาเป็นกรอบแนวทางในการบริหารงานวิชาการ เพื่อจะพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น สร้างและพัฒนานวัตกรรมที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย ปรับปรุงเกณฑ์การวัดผลและประเมินผลให้เหมาะสม ผลิตและพัฒนาสื่อนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ที่เน้นทักษะและกระบวนการ และปรับปรุงกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ที่ผู้เรียนจะได้รับเป็นสำคัญ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซทการพิมพ์.
พระมหาฐิติวัสส์ ฐิติวฑฺฒโน, พระฮอนด้า วาทสทฺโท และ จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2564). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในจังหวัดหนองคาย. Journal of Buddhist Education and Research, 7(3), 206-216.
พระวัชรินทร์ ชินวโร (ยิ้มย่อง). (2556). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พัฒน์พรชัย เมฆวิลัย (2565) การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในวิกฤติการณ์โควิด 19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 3(1), 41-49.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือผู้ประเมิน เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2554-2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
หทัย ศิริพิน. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม (นครราษฎร์ประสิทธิ์). (ค้นคว้าปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).