เทคโนโลยีดิจิทัล HR กับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีดิจิทัล, ประสิทธิภาพการทำงาน, พนักงานทรัพยากรบุคคลบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาเทคโนโลยีดิจิทัล HR และประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาเทคโนโลยีดิจิทัล HR ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การแจกแบบสอบถามออนไลน์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานทรัพยากรบุคคล ที่มีการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการทำงานที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-Test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล HR ในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล โดยรวมอยู่ในระดับสูง และเมื่อวิเคราะห์ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลมีความคิดเห็นระดับสูงมาก รองลงมาคือ ด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และอันดับสามด้านคลาวด์ ในด้านประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล โดยรวมแล้วอยู่ในระดับสูง โดยพบว่า ด้านคุณภาพ มีความคิดเห็นระดับสูงมาก รองลงมาคือ ด้านปริมาณ และอันดับสามด้านเวลา
เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล แยกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ การศึกษา ตำแหน่งงาน และจังหวัด ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนประเภทองค์กร ลักษณะงาน และประเภทอุตสาหกรรม มีประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
เทคโนโลยีดิจิทัล HR ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล ได้แก่ ด้านสื่อสังคม ด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โดยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของการพยากรณ์ Digital HR ทั้ง 3 ด้าน สามารถทำนายประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคลได้ร้อยละ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (โดยด้านการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำนายประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคลได้มากที่สุด รองลงมาเป็นด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ และอันดับสามด้านสื่อสังคม)
References
กชกร จงเกริกเกียรติ. (2563). อิทธิพลของ Digital HR ต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคล.(การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
จุฑามาศ นิ่มจิตต์ และ โกวิทย์ กังสนันท์. (2564). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรของสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีที่มีผลมาจากการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. Journal of Administrative and Management Innovation, 9(3), 36-50.
ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2559). สะดุดคิดสะกิดใจในงาน HR. กรุงเทพฯ: ธรรมนิติ.
รุ่งอรุณ จงเสมอสิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานกสิกรไทยในเขตจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). The digital transformation is a marathon journey. สืบค้น 25 ตุลาคม 2565, จาก https://www.etda.or.th/getattachment/b84e7b95-e4c2-47a2-81c2-f6bf0fb922f7/รายงานประจำปี-2562.aspx.
Bondarouk, T., & Brewster, C. (2016). Conceptualising the future of HRM and technology research. The International Journal of Human Resource Management, 27(21), 2652-2671.
HR Note Thailand. (2562). บทบาทใหม่ของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล (New Roles of HR in Digital Age). สืบค้น 25 ตุลาคม 2565, จาก https://th.hrnote.asia/personnel-management/190902-hr-roles-digital-age/.
Isari, D., Bissola, R., & Imperatori, B. (2019). HR devolution in the digital era: What should we expect?. In HRM 4.0 for human-centered organizations. Emerald Publishing Limited.