ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อยุธยา

ผู้แต่ง

  • ทิพานัน ชะเอมไทย หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พัณณิตา หมายงาม หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ศิราพร สาดบางเคียน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อภิสรา สีเงิน หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • รัตนา สีดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะ, ทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ (3) ศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก พนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนครและสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อยุธยา จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านผู้มีทักษะหลากหลาย ด้านการคิดอย่างมีตรรกะ และด้านการบริหารความเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ในส่วนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์ในแต่ละด้านพบว่า ด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำงาน ด้านความรู้ในงาน และด้านการทำงานได้ตามกำหนดเวลา มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก

การเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานที่แตกต่างกันจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ และประสบการณ์การทำงาน ไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่ เพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่งงาน มีประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

การพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ได้แก่ ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านผู้มีทักษะหลากหลาย และด้านการคิดอย่างมีตรรกะ โดยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของการพยากรณ์ การพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 3 ด้าน สามารถทำนายประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทรัพยากรบุคคลได้ร้อยละ 59 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จุฑามาศ ปานสมบูรณ์. (2548). ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานสายงานปฏิบัติการผลิตของบริษัท วงศ์ไพฑูรย์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครรินทร์วิโรฒ).

ณัฐธัญ ถนัดรบ. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).

ธนิต โสรัตน์. (2559). เอกสารประกอบการบรรยายกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม 4.0 การปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564. จาก www.tanitsorat.com

ธาดา ราชกิจ. (2562). นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มีวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่กำหนดขึ้นให้ทันโลกในยุคศตวรรษที่ 21. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://ruscon.rus.ac.th/proceedings.

นลพรรณ บุญฤทธ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ, มหาวิทยาลัยบูรพา).

นิ่มนวน ทองแสน และ นพวรรณ พจน์พิศุทธิพงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอางในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(2), 121-132.

ประคอง สุคนธจิตต์. (2562). ทรัพยากรมนุษย์ ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 7, 18-28.

ผดุงชัย ภู่พัฒน์. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดบทบาทผู้บริหารในการส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

พิชารัตน์ นุ่มสวัสดิ์. (2561). ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอางในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. (งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

พิมพ์ณดา เลิศปกรณ์ธีรทัต. (2562). ทัศนคติที่มีต่อการทำงานร่วมกับคนต่างกันของประชากรที่มีงานทำในเขตกรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

พิมพ์ลักษณ์ อยู่วัฒนา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนเครือข่ายบริการสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

ศรัณย์ วัฒนา. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์ 4.0 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไปสู่ประเทศไทย 4.0. (งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564). กรงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2561). รายงานความเคลื่อนไหวการลงทุนประจำเดือนเมษายน. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2565. จาก http://www.industry.go.th/Ayutthaya/index.php/activityreport/2561-1.

สุรีรัตน์ คำชมภู. (2563). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 23. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สุวิทย์ เมษอินทรี. (2559). ประเทศไทย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่. สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mjgy/~edisp/uatucm282681.pdf.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-11