คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ แก่นจำปา นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ชาญยุทธ หาญชนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, เกษตรกรชาวไร่อ้อย, สิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรชาวไร่อ้อย อำเภอศรีบุญเรือง คำนวณตามสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test

ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านร่างกาย รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสิ่งแวดล้อม

ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอศรีบุญเรือง ที่จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยภาพรวม พบว่าเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอศรีบุญเรือง ที่มีอายุ สถานภาพ และระดับการศึกษา ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอศรีบุญเรือง ที่มีเพศและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีคุณภาพไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการตรวจสุขภาพของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

References

กุสุมา โกศล. (2555). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย: ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ณิชา โป๋ทอง และ เมตตา เร่งขวนขวาย. (2565). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 207-224.

ปิ่นสอาด สหนาวิน. (2553). คุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมวิทยา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ผกามาศ มูลวันดี. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบของพฤติกรรมในการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่มีต่อคุณภาพชีวิตในครอบครัวของเกษตรกร บ้านหนองตาไก้ ตำบลลุมปุ๊ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 11(2), 26-40.

ภัคสิตาพิชญ์ ปั้นแตง และ มนฤตย์พล อุรบุญนวลชาติ. (2561). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว : กรณีศึกษาเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(3), 148-157.

เมตตา เร่งขวนขวาย. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่ได้รับการฝึกอบรมอาชีพเสริม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 564-577.

ศุภรทิพย์ นิลารักษ์. (2557). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางภายในเขตพื้นที่จังหวัดตราด. (งานนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่10. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำราญ จูช่วย. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

อัมพร ไทยขำ. (2553). คุณภาพชีวิตของเกษตรกร : กรณีศึกษาเกษตรกรปลูกไม้ยูคาลิปตัส ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Baldwin, T. T. & Ford, K. J. (1988). Transfer of training: A review and Directions for Future Research. Personal Psychology, 41(2), 63-105.

Gregoire, T. K., Propp, J., & Poertner, J. (1998). The supervisor's role in the transfer of training. Administration in social work, 22(1), 1-18.

Hopson, B., & Hayes, J. (2014). The theory and practice of vocational guidance: A selection of readings. Elsevier.

Knowles, L. (1970). Effective Classroom Management. Journal of Elementary School, 8(2), 219-231.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York.Harper and RowPublications.

The WHOQOL Group. (1994). The development of the world health organization quality of life assessment instrument. New York: Springer-verlag.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-16