การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดทำแผนพัฒนา, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา (3) เสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง จำนวน 392 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากลุ่มเป้าหมายด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์
ผลการศึกษา พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล ผลการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตามหลักอิทธิบาท 4 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ ด้านวิมังสา
ผลการทดสอบสมมติฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา โดยภาพรวมแตกต่างกัน ประชาชนที่มีเพศและอายุต่างกัน การมีส่วนร่วมแตกต่างกัน ประชาชนที่มีระดับการศึกษาและอาชีพ การมีส่วนร่วมไม่แตกต่างกัน
แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา และมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท 4 นั้น ประกอบด้วย 1) ระดมกำลังในชุมชน 2) ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนา 3) จัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ชุมชน และ 4) ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกและคุณธรรม
References
ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 77-91.
ธวัช วราสุนันท์ และ โชติ บดีรัฐ. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลบางระกำเมืองใหม่ อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(2), 52-62.
นราศักดิ์ ทองเกตุ. (2564). การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของประชาชนในเทศบาลตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 6(2), 116-126.
พรรณี บุมี และพิชิต รัชตพิบุลภพ. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. Journal of Administrative and Management Innovation, 9(3), 86-94.
พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
พระมหาวีระชาติ โปธา. (2562). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 59-69.
ภัทรวรรธน์ วรเสฏฐ์ฐากูร. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 (ตอนที่ 40 ก) หน้า 74.
วิยาณี ลำลอง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนสามปีของเทศบาลตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
ศราวุฒิ ดาวกรงแก้ว. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชน:กรณีศึกษาเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(37), 80-93.
องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง. (2564). การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้น 28 กันยายน 2565. จาก http://www.Robmuang101.go.th/index.htm.
องค์การบริหารส่วนตำบลรอบเมือง. (2565). จำนวนประชากรในตำบล. สืบค้น 14 กรกฎาคม 2565. จาก http://www.robmuang101.go.th.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. NewYork: Harper and Row.