การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนของประชาชน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐนันท์ คำอ่อน นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
  • ชาญยุทธ หาญชนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต

คำสำคัญ:

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, องค์การบริหารส่วนตำบล, ระดับครัวเรือน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว (2) เปรียบเทียบการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เสนอแนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ หัวหน้าครัวเรือนในเขตตำบลบ้านพร้าว จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test

ผลการวิจัย พบว่า การนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านความพอประมาณ รองลงมาคือด้านเงื่อนไขคุณธรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านเงื่อนไขความรู้

ผลการเปรียบเทียบการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว ที่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ภาพรวมหัวหน้าครัวเรือนในเขตตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือนไม่แตกต่างกัน

ข้อเสนอแนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติระดับครัวเรือน ได้แก่ ควรมีความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2550). แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้น 24 สิงหาคม 2565. จาก http://www.oae.go.th/download/journal/development_plan2550.pdf.

ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์. (2547). เศรษฐมิติ ทฤษฎีและการประยุกต์. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2554) การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชน ในชุมชนเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุคนธ์ เหลืองอิงคะสุต. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริกับการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านพร้าว. (2564). จังหวัดหนองบัวลำภู. สืบค้น 24 สิงหาคม 2565. จาก http://www.banproaw.go.th.

Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-16