บริบทการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบท (กิจกรรมที่ 1)
คำสำคัญ:
การปรับตัวทางสังคม, ผู้สูงอายุ, ชุมชนเมือง, ชุมชนชนบทบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการปรับตัวในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบท (2) ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบทในปัจจุบัน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปใน 2 พื้นที่ คือ ชุมชนเมือง เทศบาลเมืองบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี และเขตชุมชนชนบทเทศบาลตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีจำนวนทั้งสิ้น 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการปรับตัวในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ประกอบด้วย 1) ปัญหาด้านมาตรฐานทางสังคม คือการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบใหม่ 2) ปัญหาด้านทักษะทางสังคม คือการเน้นการเข้ากลุ่มเล็กหรือเพื่อนที่สนิท 3) ปัญหาด้านแนวโน้มพฤติกรรมต่อต้านสังคม คือกฎระเบียบที่ส่งผลต่อการเงินของผู้สูงอายุ 4) ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาเขตชุมชนเมืองคือช่องว่างระหว่างวัย ส่วนเขตชุมชนชนบทคือความรู้สึกเหงา 5) ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในสถาบัน/ชมรม/กลุ่มสังคม คือ คำสั่งที่ต้องลงทุน และยังไม่คุ้นเคยกับการเข้ากลุ่มใหญ่ 6) ปัญหาด้านความสัมพันธ์ในชุมชนที่อยู่อาศัย คือความไม่เข้าใจกันกับสมาชิกในชุมชน
วิธีการแก้ปัญหาในการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบทในปัจจุบัน ประกอบด้วย ด้านจิตใจคือ 1) มีสติในการใช้ชีวิต 2) ปล่อยวาง 3) มองโลกในแง่ดี 4) เป็นมิตร 5) ควบคุมอารมณ์เวลาเข้าสังคม 6) ช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น 7) ปรับการวางตัวไม่อยู่เหนือคนอื่น 8) ปรับทุกข์กับเพื่อนเวลามีปัญหา ส่วนของด้านกายภาพคือ 1) หางานอดิเรกและงานสันทนาการทำ 2) ร่วมกิจกรรมนอกบ้าน 3) ใช้ชีวิตแบบพอเพียง และ 4) หารายได้เสริม
References
กนกพร เรืองเพิ่มพูล, สุดา รองเมือง และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2554). ลักษณะการปรับตัวทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(3), 478-492.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926.
จรัญญา วงษ์พรหม, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, นวลฉวี ประเสริฐสุข และ นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 41-54.
จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ์. (2549). ความพึงพอใจระหว่างปัจจัยทางประชากร กิจกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาเอกพยาบาล สาขาสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล).
ณัฐธิยาน์ อิทธิโชติ และบัวทอง สว่างโสภากุล. (2562). ทักษะชีวิต การปรับตัว สัมพันธภาพในครอบครัวกับการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 1-17.
นนทรีย์ วงษ์วิจารณ์. (2556). ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม และความผาสุกในชีวิต ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 39(2), 66-70.
สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ. (2561). ภาครัฐกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย. วารสารข้าราชการ, 60(4), 1-25.
สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2554). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในท้องถิ่นโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (ระยะที่ 1) (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.