การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • เกศนีย์ อิ่นอ้าย สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยและการประเมิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • พงศ์วัชร ฟองกันทา สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยและการประเมิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, ความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้, นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (2) เปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่มีเพศแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูจำนวน 175 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ โดยแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ในรูปแบบการตอบสนองคู่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยวิธีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น โดยใช้วิธี Modified Priority Needs Index (PNI Modified) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที (t-test)

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้สูงที่สุดในประเด็นของการสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการเรียนรู้ (PNImodified= 0.66) และความต้องการจำเป็นในประเด็นของการให้คะแนนและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ(PNImodified= 0.41) เป็นลำดับสุดท้ายและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูเมื่อจำแนกตามเพศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กัลย์วิสาข์ ธาราวร และ กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิคทางการศึกษา, 11(3), 374–389.

จันทิมา จันทรประสาท, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และ ยุวรี ผลพันธิน. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของครูโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 1577-1595.

บุญฤทธิ์ ปิยศรี และมาเรียม นิลพันธุ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 97-109.

พินดา วราสุนันท์และวิทยา ซิ้มเจริญ. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถานศึกษายุคโควิด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(3), 155-165.

เพ็ญสินี กิจค้า. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนิสิตหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 62-75.

รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2204-2216.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2556). แนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 7(1), 1-10.

วัสส์พร จิโรจพันธุ์ และกันต์ฤทัย คลังพหล. (2558). ผลการประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 273-285.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี:บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Antonio, A., Probitchado, R., Ricohermoso, C., Saavedra, A., and Rama, M. J. (2020). Gender differences in technological competence among science teachers: Implications. International Journal of Advanced Science and Technology, 29(7), 13257-13268.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Sabbatini, Renato M.E. (2007). Are There Differences between the Brains of Males and Females?. State University of Campinas, Brazil. Retrieved 1 July 2022. from https://cerebromente.org.br/n11/mente/eisntein/cerebro-homens.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-09