การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
คำสำคัญ:
การบริหาร, ประสิทธิผล, สถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษา (2) ศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ (4) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 323 คน จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 29 คน และครูผู้สอน 294 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้อำเภอเป็นชั้นการแบ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.816 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหูคูณ
ผลการศึกษาพบว่า การบริหารสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก
ประสิทธิผลของสถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ทั้งโดยรวม และรายด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาในสถานศึกษา ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู และด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับสูง
การบริหารสถานศึกษาโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงเส้นระดับมากในทิศทางบวกกับประสิทธิผลของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายคู่ พบว่า ด้านการบริหารวิชาการ มีความสัมพันธ์เชิงเส้นระดับมาก ในทิศทางบวก ด้านการบริหารงบประมาณ มีความสัมพันธ์เชิงเส้นระดับปานกลาง ในทิศทางบวก ด้านการบริหารงานบุคคล มีความสัมพันธ์เชิงเส้นระดับปานกลาง ในทิศทางบวก ด้านการบริหารงานทั่วไป มีความสัมพันธ์เชิงเส้นระดับปานกลาง ในทิศทางบวก
การบริหารสถานศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา ถึงร้อยละ 71.20
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (2565). ข้อมูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565. จาก https://sites.google.com/sakonnakhon3.go.th/plansakon3.
กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565. จาก https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area CODE-2201.
ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2551). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปัตตานี: ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักงานวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2552). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย ฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
บัญชา พิพัฒนมงคลกิจ, อดิศร ศรีเมืองบุญ และ ธีระเดช จิราธนทัต. (2563). การบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 41-50.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.