ถังสังฆทานและจีวร : ต้นทุนจมทางความเชื่อเชิงพุทธพาณิชย์

ผู้แต่ง

  • พระคมสัน เจริญวงค์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ภัทรพล ใจเย็น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เอนก ใยอินทร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ต้นทุนจม, พุทธพาณิชย์, สังฆทาน, ความเชื่อ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งศึกษาและนำเสนอประเด็นพฤติกรรมทางสังคม ความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนาและเศรษฐศาสตร์ รูปแบบพุทธพาณิชย์ที่สะท้อนภาพธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่แฝงตัวอยู่ในความเชื่อทางศาสนา โดยนำเสนอความเชื่อที่เป็นเส้นบางๆ กับความศรัทธาผสมผสานกับความต้องการสิ่งสูงสุดของปุถุชนชาวพุทธทั่วไปที่ยังเข้าไม่ถึงแก่นแท้พระพุทธศาสนา หรือที่ทางพระเรียกว่าเข้าถึงแค่ขั้นกระพี้ นั่นก็คือคำว่า “บุญ” การพลอยยินดี มุทิตาสักการะ มีจิตผ่องใสบันเทิง การให้ทาน รักษาศีล ภาวนา และปฏิบัติธรรม เป็นต้น อะไรก็ตามที่ทำให้จิตใจมีความสุข เบิกบานใจ ไม่เศร้าหมอง ในทางพระพุทธศาสนาล้วนเป็นบุญทั้งสิ้น แต่จากความเชื่อและการปลูกฝั่งค่านิยมของคนไทยที่ปฏิบัติตามกันมา จะมีความเชื่อว่า “บุญ” เกิดจากการให้ เกิดจากการบริจาค และเกิดจากการถวายทาน ในสังคมไทยส่วนมากจึงมีการรับบริจาคช่วยเหลือหรือก่อสร้างปฏิมากรรมวิจิตศิลป์ขนาดใหญ่ในศาสนสถานอยู่บ่อยครั้ง ในขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางของกลุ่มธุรกิจพาณิชย์ได้ออกแบบธุรกิจแฝงในศาสนา หรือคนทั่วไปเรียกว่า “พุทธพาณิชย์” เปิดช่องทางการขายสินค้าบุญ แต่เป็นสินค้าประเภทต้นทุนจม (Sunk Cost) ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือบริโภค-อุปโภคให้พระสงฆ์หรือสาธุชนได้ใช้ได้อีก เช่น ผลิตภัณฑ์ในถังสังฆทาน ผ้าไตรจีวร เป็นต้น ซึ่งหากจะกล่าวแบบคนบ้านๆ เรียกว่า “หาประโยชน์ได้น้อยมาก” ถือว่าเป็นสินค้าที่ด้อยคุณภาพ นำไปใช้ก็ไม่คุ้มกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ

References

ชวินทร์ ลีนะบรรจง. (2554). เศรษฐศาสตร์ติดดิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชูศรี ทิศาภาค. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนพิธี. สืบค้นวันที่ 7 ตุลาคม 2565. จาก http://110.164.59.3/e-learning/chusri2/chapter3.html.

ธวัช ปุณโณทก. (2528). ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในสังคมอีสาน” ใน วัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติ ความเชื่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษกร ประวะโข. (2550). วัฒนธรรมองค์กรขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดอุดรธานีในการส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิยุวพัฒน์. (2562). สุขที่ได้ให้. สืบค้นวันที่ 7 ตุลาคม 2565. จากhttps://www.yuvabadhanafoundation.org/th.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

รุ่งฤดี บุษย์ชญานนท์ และ สุชาติ บุษย์ชญานนท์. (2561). การสร้างแรงจูงใจในการทำบุญโดยผ่านระบบสารสนเทศสมัยใหม่. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 9(1), 62-63.

สุพัตรา สุภาพ. (2522). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.

สุรพงษ์ ลือทองจักร. (2552). หลักมานุษยวิทยาและหลักสังคมวิทยา. อุดรธานี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ