การศึกษาความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรของประเทศไทย และประเทศอินโดนีเซีย กรณีศึกษา : ปาล์มน้ำมัน

ผู้แต่ง

  • โยษิตา เสร็จกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วุฒิยา สาหร่ายทอง สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ, ส่วนแบ่งการตลาดคงที่, ตำแหน่งทางการตลาด, ปาล์มน้ำมัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกปาล์มน้ำมันของประเทศไทย และอินโดนีเซีย ในตลาดโลก (2) ถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งทางการตลาดของมูลค่าการส่งออกปาล์มน้ำมันของประเทศไทย (3) ตำแหน่งทางการตลาดและแนวทางการกำหนดกลยุทธ์ ในการจัดการปาล์มน้ำมันของประเทศไทย โดยใช้ทฤษฎีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) ส่วนแบ่งทางการตลาดคงที่ (CMS) และทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ (BCG)

ผลการศึกษา พบว่า ค่าดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) ของประเทศอินโดนีเซีย มีค่ามากกว่า 1 มาโดยตลอด ในขณะที่ประเทศไทยมีค่าน้อยกว่า 1 มาโดยตลอด ยกเว้นปี 2556

ส่วนแบ่งทางการตลาดคงที่ (CMS) ของประเทศไทย ไปยังตลาดอินเดีย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลทางบวกให้กับประเทศไทย ได้แก่ ผลจากการแข่งขันที่แท้จริง ปัจจัยที่ส่งผลทางลบ ได้แก่ ผลจากการขยายตัวของโลก ผลจากการกระจายตลาด และผลจากการปรับทิศทางการส่งออก

ตำแหน่งทางการตลาด โดยใช้เครื่องมือ BCG Matrix พบว่า ส่วนแบ่งทางการตลาดโดยเปรียบเทียบ และอัตราการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันของประเทศไทยในตลาดโลก ช่วงปี 2554 – 2558 และช่วงปี 2559 – 2563 มีตำแหน่งอยู่ที่สินค้าตกต่ำ

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2561). พื้นที่ทำการเกษตรประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2564. จากhttp://www.plan.doae.go.th/userfiles/Indonesia_Banner.pdf.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). สรุปข้อมูลสถิติการเกษตรและสหกรณ์ที่สำคัญ. สืบค้น 20 มิถุนายน 2564. จาก https://www.opsmoac.go.th/nakhonsithammarat-dwl-files-421191791137.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2564. จาก http://www.plan.doae.go.th/userfiles/Indonesia_Banner.pdf.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2565). ข้อมูลทั่วไปประเทศอินโดนีเซีย. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/141178/141178.pdf.

กระทรวงพาณิชย์. (2564). Trade Map. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2564. จาก http://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx.

สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). พื้นที่การเพาะปลูกของประเทศไทย. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2564.จาก https://www.opsmoac.go.th/nakhonsithammarat-dwl-files-421191791137.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). การศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจสินค้าเกษตรเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษา: สินค้าปาล์มน้ำมัน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). มูลค่าการส่งออกปาล์มน้ำมันของประเทศไทย. สืบค้น 21 มิถุนายน 2564. จาก http://misapp.oae.go.th/product/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). พื้นที่เพาะปลูก และปริมาณผลผลิตของไทย. สืบค้น 21 มิถุนายน 2564. จาก http://www.oppori.psu.ac.th/images/sampledata/Data-Statistics/Thailand/Area-Palm.pdf.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้า ปี 2554-2563. สืบค้น 25 มิถุนายน 2564. จาก https://oaezone.oae.go.th/view/22/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%88/TH-T.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23