ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
คำสำคัญ:
กองทุนรวม, แรงจูงใจ, วัตถุประสงค์การลงทุนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรม ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อโอกาสในการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30-39 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรีหรือเทียบเท่า อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 20,001-40,000 บาท และมีประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวม 1-5 ปี ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านวัตถุประสงค์การลงทุน โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย และผลการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) โดยเลือกลงทุนจำนวน 310 คน คิดเป็นร้อยละ 76.73 ไม่ลงทุนจำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 23.27 และผลการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) โดยเลือกลงทุนจำนวน 268 คน คิดเป็นร้อยละ 66.34 ไม่ลงทุน จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 33.66 การทดสอบสมมติฐานมีความสอดคล้องกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกปัจจัย ยกเว้น กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) คือ ความรู้ความเข้าใจ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คือ ประสบการณ์การลงทุนในกองทุนรวม ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติกส์ แบบไบนารี (Binary Logistic Regression) พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสในการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านวัตถุประสงค์การลงทุน
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 6 มีนาคม 2565. จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชุรีพร สีสนิท. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ของลูกค้า บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ณัฐพร ภัทรเกษวิทย์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). วางแผนเกษียณ. สืบค้น 18 มิถุนายน 2564. จาก https://www2.set.or.th/education/th/start/start_start_3_5.pdf
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). ก้าวสู่วัยเกษียณอย่างมั่นใจ ด้วยข้อมูลการออมแบบครบวงจร. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564. จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/Pages/FAQ185.aspx.
ปฐมพงศ์ พุกนาค. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF). (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ปัทมา ศรีสวัสดิ์. (2560). การศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกลงทุนของ RMF LTF และประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ประจำในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2564). ข้อมูลทั่วไปด้านประชากร. สืบค้น 4 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.boi.go.th/index.php?page=demographic&language=th.
สุธิชา แก้วเกตุ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาวของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เขตภาคกลาง. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
อภิสิทธิ์ ตระการไพโรจน์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออมเพื่อการเกษียณอายุของกลุ่มคนวัยทำงาน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
Bailey, K.D. (1987). Methods of Social Research. (3rd ed.), London: Collin Macmiilan Publisher.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
FINNOMENA. (2563). กองทุน SSF คืออะไร? ต่างจาก LTF อย่างไร? RMF ปรับเกณฑ์ใหม่ ไม่มีขั้นต่ำ. สืบค้น 3 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.finnomena.com/z-admin/ssf/.
Morningstar. (2565). กองทุนประหยัดภาษีไตรมาส 3-2022. สืบค้น 3 มกราคม 2565. จาก https://bit.ly/3X9rsfB.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.