การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธีร์วรัญญ์ ชื่นธีรพงศ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณคุณ ธรณีนิติญาณ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพเชิงเทคนิค, ประสิทธิภาพสหกรณ์, สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในประเทศไทย และ (2) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในผลิตภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ในช่วงระหว่างปี 2554–2563 ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดโดยได้ทำการวิเคราะห์สหกรณ์ตัวอย่างจำนวน 92 แห่ง โดยใช้ตัวแปรปัจจัยการผลิต ประกอบไปด้วย เงินรับฝากจากสมาชิก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และทุนของสหกรณ์ และตัวแปรปัจจัยผลผลิต ประกอบไปด้วย ลูกหนี้เงินให้กู้ทั้งสิ้น รายได้ทั้งสิ้น และเงินลงทุนทั้งสิ้น โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Data Envelopment Analysis (DEA) ผลการศึกษา พบว่า ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในประเทศไทยตามตัวแบบผลตอบแทนต่อขนาดคงที่ (CRS) มีสหกรณ์ที่มีค่าประสิทธิภาพสูงสุดคงที่เท่ากับ 1 จำนวน 4 สหกรณ์ คิดเป็น 4.35% ในภาพรวมมีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.691 ในส่วนตามตัวแบบผลตอบแทนต่อขนาดผันแปร (VRS) มีสหกรณ์ที่มีค่าประสิทธิภาพสูงสุดคงที่เท่ากับ 1 จำนวน 9 คิดเป็น 9.78% ในภาพรวมมีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.776 โดยจากปี 2554 – 2563 จำนวนสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมีแนวโน้มลดลง การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงในผลิตภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ โดยใช้ดัชนี Malmquist พบว่า โดยภาพรวมระหว่างปี 2554 - 2563 สหกรณ์ออมทรัพย์ครูในประเทศไทยมีผลิตภาพโดยรวมเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 12.30 เมื่อเทียบกับระดับผลิตภาพในปีฐานในปี 2554

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2559). รายงานผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์. สืบค้น 26 กันยายน 2565. จาก https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/statistic/download/report_info/59/save_2_59.pdf.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2564). สหกรณ์ออมทรัพย์. สืบค้น 26 กันยายน 2565. จาก https://www.cpd.go.th/knowledge/general-coop/item/1741-coop-type.html#save.

ฉลิมพร อภิชนาพงศ์. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณคุณ ธรณีนิติญาณ. (2563). การวัดประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 43(168), 38-57.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). การประเมินสมรรถนะและประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์: กรณีศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศิริวรรณ อัศววงศ์เสถียร, กันตภณ ศรีชาติ และ รัฐศาสตร์ หนูดำ. (2560). ความเสี่ยงของระบบสหกรณ์ออมทรัพย์กับแนวทางการปฏิรูปการกำกับดูแล. FOCUSED AND QUICK, 114, 1-20.

สิรัลยา จิตอุดมวัฒนา. (2554). หนี้สินของสมาชิกครูในระบบสหกรณ์. สืบค้น 26 กันยายน 2565. จาก https://www.cad.go.th/cadweb_org/ewt_news.php?nid=14319.

Banker, R. D., Charnes, A., & Cooper, W. W. (1984). Some models for estimating technical and scale efficiencies in data envelopment analysis. Management Science, 30(9), 1078–1092.

Caves, D. W., Christensen, L. R., & Diewert, W. E. (1982). The economic theory of index numbers and the measurement of input, output, and productivity. Econometrica, 50(6), 1393–1414.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-03