ผลกระทบของสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้หน่วยงานที่ขาดรายได้ จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษากลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ในอุตสาหกรรมการบิน

ผู้แต่ง

  • ชญานิศ กล่ำคุ้ม สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พิมพ์พร โสววัฒนกุล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ลลิตา จันทรวงศ์ไพศาล หงุ่ยตระกูล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

โคโรนาไวรัส 2019, โควิด-19, ผลการดำเนินงาน, กำไรสุทธิ, สหกรณ์ออมทรัพย์อุตสาหกรรมการบิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อผลการดำเนินการด้านการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้หน่วยงานที่ขาดรายได้ และ (2) ศึกษาแนวทางการดำเนินการและการปรับตัวเพื่อรับมือจากผลกระทบของสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้หน่วยงานที่ขาดรายได้ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการจัดการของสหกรณ์ และการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ของสหกรณ์ทั้ง 5 แห่ง ในช่วงปี 2554-2563 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสมาชิก จำนวนทุนเรือนหุ้น จำนวนรายได้รวม จำนวนเงินฝากของสมาชิก และกำไรสุทธิของสหกรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Panel Data Regression โดยการประมาณค่าจาก Random Effect Model ผลการศึกษา พบว่า ผลกระทบต่อผลการดำเนินการด้านการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้หน่วยงานที่ขาดรายได้จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 จะเห็นได้ว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ส่งผลต่อผลการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์เช่นเดียวกับจำนวนสมาชิก แต่มีเพียงปัจจัยจำนวนทุนเรือนหุ้น จำนวนรายได้รวม และจำนวนเงินฝากของสมาชิกที่ส่งผลต่อผลการดำเนินการด้านการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ แนวทางการดำเนินการจากการเกิดผลกระทบต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้หน่วยงานที่ขาดรายได้จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการสัมภาษณ์ พบว่า ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อตัวสมาชิกเป็นหลัก และในส่วนของสหกรณ์ได้รับผลกระทบในด้านการดำเนินการในเชิงกายภาพ แต่ไม่กระทบต่อผลการดำเนินการของสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยสหกรณ์ได้มีแนวทางการรับมือโดยการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด รวมถึงการเสนอโครงการต่างๆ เพื่อช่วยสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2563). สารสนเทศน่ารู้ทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี 2563. กรุงเทพฯ: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.

กองเศรษฐกิจการบิน. (2563). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย

เฉลิมพร อภิชนาพงศ์. (2545). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชนาภา บุพโพ, ธํารงศักดิ์ เศวตเลข และ ณัฐวุฒิ คูวัฒนเธียรชัย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมและการกู้เงินของสมาชิกออมทรัพย์วังเดิม จำกัด. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(1), 420-432.

ติณณ์ จงเจริญในธรรม. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทย. ใน การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019” 15 พฤศจิกายน 2552 (น. 557-564). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มนตรี พิริยะกุล. (2557). Panel data analysis. วารสารรามคำแหง สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 30(2), 41–54.

อภิญญาณ บังเกิดสุข. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ในจังหวัดจันทบุรี. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Katchova A. (2013). Panel data. Retrieved 1 October 2022. from https://sites.google.com/site/econometricsacademy/econometrics-models/panel-data-models.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-23