การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ Speak English with Confidence เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้, ความสามารถด้านการพูด, ภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) สร้างและหาคุณภาพของหน่วยการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการเรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้, หน่วยการเรียนรู้ Speak English with Confidence, และแบบประเมินความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการศึกษา พบว่า ผลการศึกษาข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ มีดังนี้ ด้านเนื้อหาควรเป็นการออกเสียงสระ เสียงพยัญชนะ ประโยค หรือบทความสั้นๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและเหมาะสมกับวัยของนักเรียน เน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง มีสื่อออนไลน์ที่มีเจ้าของภาษาเป็นผู้สอนเพื่อเป็นการฝึกสำเนียง ควรฝึกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ด้านวิธีการสอนควรใช้เกม เพลง เพื่อให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้ รวมไปถึงครูผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีความมั่นใจกล้าแสดงออกในการออกเสียง ควรใช้ระยะเวลา 10 - 15 ชั่วโมง และควรใช้วิธีการประเมินความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบรูบริค โดยให้ผู้เรียนทดสอบออกเสียงคำศัพท์ ประโยค หรือการพูดหน้าชั้นเรียน
หน่วยการเรียนรู้มีองค์ประกอบเนื้อหา 5 เรื่อง จำนวน 14 ชั่วโมง ผลการพิจารณาความเหมาะสมของหน่วยการเรียนรู้พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหน่วยการเรียนรู้ Speak English with Confidence มีความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษา พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกษราวัลย์ เชียรธานรักษ์. (2555). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวอแก้ววิทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง).
ฐาปกรณ์ จิ๋วสุข. (2562). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่น “เมืองทัพทัน” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).
นพเก้า ณ พัทลุง. (2548). เอกสารประกอบการสอนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิน.
นันทนา รณเกียรติ. (2558). สัทศาสตร์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เบญจวรรณ บุญแสง. (2554). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เรื่อง Local Environment ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
วรพรรณ บัวขาว. (2563). การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมชุมนุม English for Local Travel เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง การพูด และความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ปีการศึกษา 2563 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ปีการศึกษา 2564 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 2 มีนาคม 2564. จาก https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/.pdf.
สุพัตรา วงค์แสงน้อย. (2553). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4), 25-33.
Cynthia Douglas. (2017). Culturally Responsive Lesson Plans by English Language Learners from the Eastern Highlands of Papua New Guinea. International Journal of Multidisciplinary Perspectives in Higher Education, 2(1), 9-24.
Ekiz, Meryem Altun. (2021). The Effect of Human Relations and Communication Lesson on Eloquent Speaking Skill. Education Quarterly Reviews, 4(4), 252-257.
Finocchiaro, Mary & Sako, Sydney. (1983). Foreign Language testing: A practical Approach. New York: Regents.
Harris, D.P. (1969). Testing English as a Second Language. New York: Mc Graw-Hill.
Naouel Zoghlami. (2020). Needs analysis for the design of a professional English curriculum: insights from a French lifelong learning context. Retrieved 2 September 2021. from https://eric.ed.gov/?q=development+english+curriculum&pg=5&id=ED608947.
Özlem ÖZTÜRK-PAT. (2021). Impact of Creative Drama Method on Students’ Speaking Skills. Journal of Theoretical Educational Science, 14(2), 223-245.
Tunagür, M., Kardaş, N., & Kardaş, M. N. (2021). The effect of student centered listening/speaking activities on turkish listening speaking skills of bilingual students. International Journal of Education and Literacy Studies, 9(1), 136-149.