การพยากรณ์ปริมาณเงินฝากของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ผู้แต่ง

  • อานิศรา ฤทธิ์สมบูรณ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรรถพล สืบพงศกร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเงินฝาก, ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเงินฝากของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) (2) พยากรณ์แนวโน้มของปริมาณเงินฝากของ ธ.ก.ส. การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว (Cointegration Test) และการวิเคราะห์การปรับตัวระยะสั้นเพื่อกลับเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาว (Vector Error Correction Model: VECM) ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (Gross Domestic Product: GDP) อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate: INF) และดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (Farm Price Index: FPI) โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 พ.ศ.2549 ถึง ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2564 รวมทั้งสิ้น 62 ไตรมาส ผลการศึกษา พบว่า GDP และ FPI มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว จำนวน 1 รูปแบบ ในทิศทางเดียวกันกับปริมาณเงินฝากของ ธ.ก.ส. 2) GDP และ FPI มีความเร็วในการปรับตัวระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพระยะยาว เท่ากับ 0.1152 ต่อไตรมาส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผลการพยากรณ์ปริมาณเงินฝากของ ธ.ก.ส. โดยพิจารณาค่าความคลาดเคลื่อน ที่ได้จากการเปรียบเทียบผลการพยากรณ์จากแบบจำลอง VECM กับค่าที่เกิดขึ้นจริง พบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้จากการพยากรณ์ภายในตัวอย่าง (In Sample Forecasting) และการพยากรณ์ภายนอกตัวอย่าง (Out of Sample Forecasting) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ ซึ่งระบุว่าแบบจำลอง VECM ที่ทำการศึกษานั้น มีความเหมาะสมที่จะถูกนำมาใช้ในการพยากรณ์ปริมาณเงินฝากของ ธ.ก.ส. เนื่องจากให้ผลลัพธ์การพยากรณ์ที่ใกล้เคียงกับค่าที่เกิดขึ้นจริง

References

ทรูปลูกปัญญา. (2564). สถาบันการเงิน. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2565. จาก http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/937.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2565). รายงานกิจการประจำปี 2564. สืบค้น 29 ตุลาคม 2565. จาก http://www.baac.or.th/th/file-upload-manual/BAAC%20Annual%20Report%202564%20ฉบับย่อ.pdf.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2565). อำนาจหน้าที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.). สืบค้น 29 ตุลาคม 2565. จาก http://www.baac.or.th/th/cg/O03_อำนาจหน้าที่และภารกิจ.pdf.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). โครงสร้างระบบสถาบันการเงินไทย. สืบค้น 29 ตุลาคม 2565. จาก http://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/FIStructure/Pages/default.aspx.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). สถาบันการเงิน. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2565. จาก http://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/FinancialInstitutions_StoryTelling_FI.aspx.

ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์. (2556). การวิเคราะห์อนุกรมเวลาสำหรับเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลภัสรดา ศรียา และ มานะ ลักษมีอรุโณทัย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณเงินให้สินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.). ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 วันที่ 8 มิถุนายน 2561 (น. 904-921). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

อภัยวรรณ นามพลแสน. (2551). ปริมาณเงินฝากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2550). คู่มือการใช้โปรแกรม EViews เบื้องต้น: สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Finger, M. H., & Hesse, M. H. (2009). Lebanon-determinants of commercial bank deposits in a regional financial center. International Monetary Fund, Middle East and Central Asia Department.

Ibrahim N. Yakubu & Aziza H. Abokor. (2020). Factor determining bank deposit growth in Turkey: an empirical analysis. Rajagiri Management Journal, 14(2), 121-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-11