ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส ทัศนา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปานเพชร ร่มไทร สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิคการเรียนร่วมกัน, ผังกราฟิก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับเกณฑ์ร้อยละ 60 (3) ศึกษาทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 37 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1)แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก วิชาสังคมศึกษา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ สังคมไทย วิชาสังคมศึกษา และ 3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ t-test for dependent sample และ t-test for one sample

ผลการศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการเรียนร่วมกัน ร่วมกับผังกราฟิก อยู่ในระดับมาก

References

จตุพร ดวงศรี. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแผนผังความคิด เรื่อง อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธิดาพร เกราะกระโทก. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา).

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพรินติง.

ปริตา สงวนทรัพย์. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง แรงและความดัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเขียนทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง อําเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร. (2563). รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2562. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร.

วิภาดา พินลา และวิภาพรรณ พินลา. (2562). การเรียนรู้เชิงรุกในวิชาสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมพร โตนวล. (2551). การสอนสังคมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม. สืบค้น 8 สิงหาคม 2563. จาก http://aqa.onesqa.or.th/SummaryReport.aspx.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุคนธ์ สินธพานนท์, ฟองจันทร์ สุขยิ่ง, จินตนา วีรเกียรติสุนทร และ พิวัสสา นภารัตน์. (2562). หลากหลายวิธีสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุภิญญา เธียรวรรณ. (2563). การพัฒนาพฤติกรรมกลุ่มโดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT เรื่อง ทวีปยุโรป รายวิชาภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

สุวิทย์ มูลคํา และอรทัย มูลคํา. (2546). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

Beck-Jones, J. J. (2003). The effect of cross-training and role assignment in cooperative learning groups on task performance, knowledge of accounting concepts, teamwork behavior, and acquisition of interpositional knowledge. The Florida State University.

Johnson, D. W., & Johnson, R.T. (1994). Learning Together and Alone: Cooperative, Competitive and Individualistic Learning (4th ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Joyce, B. R. (1972). New Strategies for Social Education. Chicago: Science Research Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19