ความรับผิดในทางอาญา : กรณีองค์ประกอบของความผิดต่อชีวิต

ผู้แต่ง

  • พระครูปริยัติสารการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความผิด, บุคคล, ความตาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอความรับผิดในทางอาญา : กรณีองค์ประกอบของความผิดต่อชีวิต โครงสร้างความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มีการแบ่งองค์ประกอบความผิด ได้แก่ องค์ประกอบภายนอก คือ ผู้กระทำ การกระทำ วัตถุแห่งการกระทำและองค์ประกอบภายใน คือ เจตนากับประมาท สำหรับความผิดอาญาประเภทที่ต้องมีผลปรากฏ ผู้กระทำจะมีความรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำ ผลการศึกษา พบว่า ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ความผิด ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิตตามมาตรา 288 มาตรา 289 มาตรา 290 มาตรา 291 มาตรา 292 มาตรา 293 และมาตรา 294 เป็นความผิดอาญาประเภทที่ต้องมีผลปรากฏการบังคับใช้กฎหมายต้องอาศัยการตีความตามหลักการ ตีความโดยเคร่งครัด ความผิดอาญาดังกล่าวองค์ประกอบภายนอกที่เป็นผู้กระทำ หมายถึง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแต่ไม่รวมถึงหุ่นยนต์รูปคนที่ทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ส่วนองค์ประกอบภายนอกที่เป็นวัตถุแห่งการกระทำต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ยังไม่ตายเท่านั้น สำหรับ “การตายของบุคคล” หมายความรวมถึงบุคคลอยู่ในภาวะสมองตายด้วย

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป. กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง ประเทศไทย.

ไกรฤกษ์ เกษมสันต์. (2553). กฎหมายลักษณะอาญา รัตนโกสินทร์ ศก 127. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไกรฤกษ์ เกษมสันต์. (2554). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 - มาตรา 366. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

คณพล จันทน์หอม. (2553). กฎหมายลักษณะอาญา รัตนโกสินทร์ ศก 127. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2561). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิดและสหโทน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร และวิชา มหาคุณ. (2544). การตีความกฎหมาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

นิรมัย พิศแขมั่นจิตร. (2561). กฎหมายว่าด้วยสิทธิของผู้ป่วยและการจัดทำบริการทางด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปกป้อง ศรีสนิท. (2559). กฎหมายอาญาชั้นสูง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ประชุม โฉมฉาย. (2556). ภาษาละตินสำหรับนิติศาสตร์และสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รังสิชัย บรรณกิจวิจารณ์ มนต์ชัย ชนินทรลีลา และ สุปวีณ์ มณีคล้าย. (2560, มิถุนายน). เจาะฎีกาเด่นพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2559. ข่าวเนติบัณฑิตยสภา.

แวคส์, เรย์มอนด์. (2558). ปรัชญากฎหมาย : ความรู้ฉบับพกพา [Philosophy of law : a very short introduction] (พิเศษ สอาดเย็น, ธงทอง จันทรางศุ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. (2546). บันทึกของนายยอร์ชปาดูซ์ (Georges Padoux) ที่ปรึกษาร่างกฎหมายของรัฐบาลสยามเกี่ยวกับร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

สุพล พรหมมาพันธุ์. (2556). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ธุรกิจ, (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2560). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์พยาบาล. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

หยุด แสงอุทัย. (2556). กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หยุด แสงอุทัย. (2560). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อังคณาวดี ปิ่นแก้ว. (2560). คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุคคล. กรุงเทพฯ: วิญญชน.

เอกูต์. (2477). กฎหมายอาชญา. พระนคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Garner, B. A. (2004). Black's Law Dictionary. United States: Thomson West.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ