รูปแบบการแบ่งปันและการสร้างความกตัญญูในงานบุญแจกข้าวของชาวอีสาน

ผู้แต่ง

  • พระครูสุธีคัมภีรญาณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

บุญแจกข้าว, การแบ่งปัน, ความกตัญญู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากิจกรรมและความเชื่อในงานบุญแจกข้าวของชาวอีสาน (2) ศึกษารูปแบบการแบ่งปันและการสร้างความกตัญญูในงานบุญแจกข้าวของชาวอีสาน (3) วิเคราะห์ค่านิยมเรื่องความกตัญญูผ่านกิจกรรมงานบุญแจกข้าวของชาวอีสาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ชาวอีสานที่เกี่ยวข้องกับงานบุญแจกข้าว ที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน 4 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 60 คน

ผลการศึกษา พบว่า กิจกรรมในการทําบุญแจกข้าวนั้นมี 2 กิจกรรมใหญ่ คือ 1) กิจกรรมการเตรียมงาน และ 2) กิจกรรมการดําเนินงาน แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1) วันสุกดิบ อีสานเรียกว่า “มือเค้างาน” 2) วันงาน อีสานเรียกว่า “มื้อโฮม” 3) วันบุญ อีสานเรียกว่า “มื้อแจกข้าว” ส่วนความเชื่อที่เป็นสาเหตุให้ทําบุญแจกข้าวมี 2 ประการ คือ 1) เชื่อตามแบบโบราณดั้งเดิม เพราะกลัวผู้ตายจะไม่มีข้าวกิน 2) เชื่อตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เรื่องหน้าที่ของลูกที่ต้องทําบุญให้พ่อแม่หลังจากตายไปแล้ว

รูปแบบการแบ่งปันและการสร้างความกตัญญูกตเวทีในงานบุญแจกข้าว มี 5 รูปแบบ คือ 1) การแบ่งปันหน้าที่ 2) การแบ่งปันวัตถุทาน 3) การแบ่งปันธรรมทาน 4) การแบ่งปันบุญ-กุศล 5) รูปแบบการแบ่งปันเครื่องไทยธรรม ส่วนการแสดงความกตัญญูในงานบุญแจกข้าวในกิจกรรมต่างๆ คือ 1) การทําบุญกุศลต่างๆ แล้วอุทิศผลบุญไปให้ 2) การอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา 3) การทําบุญฮดสรง 4) ด้วยการทําบุญกฐินอุทิศสร้างถาวรวัตถุที่เป็นสาธารณะประโยชน์

ค่านิยมในงานบุญแจกข้าว สมัยก่อนการทําบุญแจกข้าวจะกระทําหลังจากตายไปแล้วประมาณ 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี แต่ปัจจุบันสภาพความเป็นอยู่ในสังคมเปลี่ยนไป จึงนิยมทําบุญแจกข้าวอย่างเร่งด่วน อีสานเรียกว่า “แจกข้าวฮ้อน” คือ ฌาปนกิจศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว นําอัฐิมาเข้าพิธีทําบุญแจกข้าวในวันต่อมาได้เลย ค่านิยมบางอย่างอาจเสื่อมความนิยมไป มีค่านิยมใหม่บางอย่างเกิดขึ้น เกิดจากการปรับสมดุลให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังรักษาแก่นแท้ในการทําบุญแจกข้าว ที่ยึดมั่นในความกตัญญูกตเวที

References

แปลก สนธิรักษ์. (2544). สืบสานตำนานงานบุญประเพณีอีสาน. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2551). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหานิพนธ์ มหาธมฺมรกฺขิโต. (2552). บุญแจกข้าว ใน สารธรรม : ทำบุญได้บุญ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

พระมหาอุดม อุตมเมธี. (2548). กตัญญูกตเวทิตา การรู้จักตอบแทนคุณ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: ระฆังทอง.

พระสิริมังคลาจารย์. (2546). มังคลัตถทีปนี (ทุติโย ภาโค). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระอริยานุวัตร (เขมจารี). (2530). คติความเชื่อของชาวอีสาน ใน วัฒนธรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (2565). บุญแจกข้าว. สืบค้น 8 สิงหาคม 2565. จาก http://www.thaiculture.go.th/script/test.php?pageID=201&table_d=superstition&s_type=.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-26