การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

ผู้แต่ง

  • อลงกต กันคำ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฏฐณิชา ฉายรัศมี ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สถานีอัดประจุไฟฟ้า, ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, ยานยนต์ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แบ่งประเภทตามแหล่งที่มาของไฟฟ้า ประกอบด้วย 1) ระบบจำหน่ายไฟฟ้าร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และ 2) ระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ในพื้นที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยประเมินความคุ้มค่าของโครงการจากตัวชี้วัดทางการเงิน ประกอบด้วยมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน และระยะเวลาคืนทุน ภายใต้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 20 ปี จากนั้นประเมินความอ่อนไหวของโครงการจากปัจจัยด้านต้นทุนและผลประโยชน์ที่เปลี่ยนแปลง

ผลการศึกษา พบว่า โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงงานอาทิตย์มีความคุ้มค่าของโครงการต่ำกว่าโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนต่ำกว่า นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าทางการเงินของโครงการ จำแนกตามรูปแบบค่าบริการอัดประจุไฟฟ้า พบว่า รูปแบบค่าบริการแบบแบ่งตามช่วงเวลามีความคุ้มค่าทางการเงินน้อยกว่ารูปแบบค่าบริการแบบคงที่ตลอดทั้งวัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการมากที่สุด คือ อัตราค่าบริการอัดประจุไฟฟ้า ต้นทุนค่าไฟฟ้าจากระบบจำหน่าย และจำนวนผู้ใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า ตามลำดับ

References

กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม. (2565). สถิติรถจดทะเบียน. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565. จาก https://web.dlt.go.th/statistics/.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2560). ศักยภาพรังสีรวม ปี 2560. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.dede.go.th/ewt_news.php?nid=47941.

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2562). การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564. จาก https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/default/files/คู่มือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ BLN_0.pdf.

การไฟฟ้านครหลวง. (2565). รายงานประจำปี 2564. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.mea.or.th/e-magazine/detail/2786/465.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2561). ประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เรื่อง การทบทวนอัตราค่าไฟฟ้า ตามหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าปี 2558. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564. จาก https://www.pea.co.th/electricity-tariffs.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2565). โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย. สืบค้น 20 สิงหาคม 2565. จาก https://ppim.pea.co.th/project/solar/list.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2565). รายงานประจำปี 2565. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.pea.co.th/Portals/0/Document/AnnualReport/Annual_Report2021.pdf.

คณะทำงานศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย. (2560). รายงานแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.pea.co.th/Portals/0/Document/attachment/EV-EGATPEAMEA2560.pdf.

เชษฐวุฒิ ศรีสะอาด. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนในระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์: กรณีศึกษาเฉพาะโรงงานแปรรูปไม้ยูคาลิปตัสแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).

ณธีพัฒน์ ภูมิเดชาวัฒน์. (2562). ศึกษาการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์ของสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาหรับรถยนต์โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธนาคารไทยพาณิชย์. (2565). กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ SET ENERGY SECTOR INDEX (ชนิดจ่ายเงินปันผล). สืบค้น 24 มิถุนายน 2565. จาก https://www.scbam.com/fund/index-fund/fundinformation/scbenergy.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์. สืบค้น 10 กันยายน 2564. จาก https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx.

บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) “โครงการจ้างสำรวจและวิเคราะห์ตลาดของ EV Charger ในประเทศไทย”. สืบค้น 22 สิงหาคม 2565. จาก https://www.nectec.or.th/news/news-public-document/evcharger-market-thailand.html.

ราชันย์ ชูชาติ. (2562). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษาโครงงานผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในจังหวัดตรัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

วรเชษฐ์ แสงอรุณ. (2564). กลยุทธ์การขับเคลื่อนการเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

วันวิสาข์ ศรีสงคราม. (2563). การกำหนดแนวทางที่เหมาะสม สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารเรียนในประเทศไทย กรณีศึกษาโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม แบบอาคารเรียนมาตรฐาน สพฐ. 108 ล./30. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). คาดการณ์ปี 2564 รถยนต์ไฟฟ้าไทยโต 69% อีก 10 ปีจะเป็นครึ่งหนึ่งของตลาด. สืบค้น 1 มิถุนายน 2564. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/xEV-FB-23-04-2021.aspx

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย. (2565). สถานการณ์ยานยนต์ไฟฟ้า. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2565. จาก http://www.evat.or.th/15708256/current-status.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2561). คู่มือประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า(EV). สืบค้น 1 ธันวาคม 2564. จาก https://www2.erc.or.th/ERCWeb2/Upload/Document/คู่มือการประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า_ฉบับสมบูรณ์.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน. (2565). ร่างโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ปี 2565 – 2568. สืบค้น 5 ตุลาคม 2565. จาก https://www.erc.or.th/th/listen-to-opinions/480.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2564). แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า. สืบค้น 20 ธันวาคม 2564. จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/eppo-intranet/item/17415-ev-charging-221064-04.

อภิญญา วนเศรษฐ และคณะ. (2558). การวิเคราะห์และประเมินโครงการ. สืบค้น 10 กันยายน 2564. จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom14/01-01-01.html.

อาณัติชัย คำเกษ. (2561). การศึกษาความเป็นไปได้โครงการลงทุนการตั้งสถานีบริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า: ข้อมูลเชิงเทคนิคและการเงิน. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).

Lanz, L. et al. (2022). Comparing the levelized cost of electric vehicle charging options in Europe. Nature Communications. 2022(13), 5277.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23