ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และแนวทางการยกระดับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน: เกาะหมาก จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • อารยา สุนทรวิภาต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
  • ลักษมณ บุญมา สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
  • ธัชนันท์ สังวาลย์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
  • กนกรัชต์ กาสาวพานิชย์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
  • พัชรี ปรีเปรมโมทย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, เกาะหมาก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) สำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวบนเกาะหมากตามกรอบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) (2) เสนอแนวทางการยกระดับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกาะหมาก ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 513 ตัวอย่าง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ t-test และ ANOVA

ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อภาพรวมของการจัดการท่องเที่ยวเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) โดยมีความพึงพอใจกับมิติของประชาชนในพื้นที่มากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมการท่องเที่ยว สถานที่พักแรม รถโดยสารสาธารณะ เรือโดยสาร บริษัทท่องเที่ยว ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายหาด แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บริการสปาและนวดแผนไทย ความปลอดภัยโดยรวมบนเกาะหมาก และการซื้อสินค้าและของที่ระลึก ตามลำดับ โดยระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อีกทั้งอายุส่งผลต่อค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

แนวทางการยกระดับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกาะหมาก ตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ที่ควรดำเนินการพัฒนา 6 ประเด็น ได้แก่ ความพร้อมระดับประชาชนในพื้นที่ ความพร้อมของแหล่งหรือกิจกรรมท่องเที่ยว ความพร้อมของการบริการการท่องเที่ยว ความปลอดภัยของสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมท่องเที่ยว ราคาของสินค้าและบริการ และการประชาสัมพันธ์และการเข้าถึงข้อมูลทางด้านท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว รวมไปถึงประชาชนในพื้นที่อีกด้วย

References

กมลกนก เกียรติศักดิ์ชัย และชื่นชนก โควินท์. (2563). สมรรถนะของคนในชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2) 16-30.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ภาคตะวันออกประเทศไทย. สืบค้น 5 มกราคม 2565. จาก https://thai.tourismthailand.org/Destinations/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81/4.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ครองช่าง.

นิคมศม อักษรประดิษฐ์. (2558). กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) กรณีศึกษาพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พรไพลิน จุลพันธ์. (2565). “เกาะหมาก” ขึ้นแท่น “แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน” 100 แห่งของโลก. สืบค้น 3 ตุลาคม 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1030142.

ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวเกาะหมากและอื่นๆ. สืบค้น 3 ตุลาคม 2565. จาก https://intelligencecenter.tat.or.th/wp-login.php?redirect _to=https%3A%2F%2Fintelligencecenter.tat.or.th%2Farticles%2F702&reauth=1.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). เกาะหมากกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและความยั่งยืนให้กับพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. สืบค้น 3 ตุลาคม 2565. จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/kohmak-technology

องค์การบริหารหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2562). การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด. สืบค้น 3 ตุลาคม 2565. จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/community-based-tourism/.

องค์บริหารส่วนตำบลเกาะหมาก. (2562). ข้อมูลทั่วไปของเกาะหมาก. สืบค้น 5 มกราคม 2565. จากhttps://kohmaktrat.com/.

อิสระพงษ์ พลธานี และอุมาพร บุญเพชรแก้ว (2560). องค์ประกอบศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล เกาะหมาก จังหวัดตราด, วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 12(24), 95-102.

อุมาพร บุญเพชรแก้ว, อิสระพงษ์ พลธานี, กมลวรรณ อยู่คา, ปลิดา รู้วัชรปกรณ์, ปิยะวรรณ มาก่อเกียรติ, ยูธิกา ด่านภู่วงศ์ และ อฑิติยา ตรึกดี. (2561). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวแบบโลว์คาร์บอนเกาะหมาก จังหวัดตราด. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 11(3), 2686-2703.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30