ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชนิดเชื้อเพลิงไฟฟ้าของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ภัคจิรา นามบัวน้อย เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

รถยนต์นั่งส่วนบุคคลชนิดเชื้อเพลิงไฟฟ้า, การตัดสินใจเลือกซื้อ, ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชนิดเชื้อเพลิงไฟฟ้าของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม 400 ตัวอย่าง แบ่งเป็นกลุ่มที่เคยซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชนิดเชื้อเพลิงไฟฟ้า และกลุ่มที่สนใจแต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชนิดเชื้อเพลิงไฟฟ้า โดยมีสัดส่วนแต่ละกลุ่มที่ร้อยละ 50 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แบบจำลอง Binary Logit Model และสถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าเฉลี่ย ร้อยละ ศึกษาตัวแปรที่ผู้วิจัยพัฒนามาจากแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า ผู้ที่เคยซื้อและผู้ที่สนใจซื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 26-35 ปี มีสถานภาพโสด อาชีพพนักงานเอกชน มีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 30,001-60,000 บาท โดยมีปัจจัยหลักในเลือกซื้อ คือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการประหยัดน้ำมันและการประหยัดพลังงาน สำหรับบริเวณการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เหมาะสม ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า มีลักษณะการใช้งานวิ่งในเมืองซึ่งระยะทางใช้งานเฉลี่ยใน 1 วัน อยู่ที่ระยะทาง 15-30 กิโลเมตร ความสามารถในการจ่ายราคาเชื้อเพลิงอยู่ที่ไม่เกิน 6,000 บาทต่อเดือน การตั้งราคารถยนต์ที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มสนใจที่จะเลือกซื้อมากที่สุด คือ ช่วงราคา 1,500,000 บาท ผลการวิเคราะห์พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีโอกาสในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลชนิดเชื้อเพลิงไฟฟ้า กลุ่มประเภทไฮบริด(HEV) และกลุ่มประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า(BEV) และเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) อยู่ในระดับสูง แต่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลชนิดเชื้อเพลิงไฟฟ้า กลุ่มประเภทปลั๊กอินไฮบริด(PHEV) มีโอกาสการตัดสินใจเลือกซื้ออยู่ในระดับต่ำ

References

ณรงค์ชัย ศรีขวัญเจริญ, เอกชัย ศิริกิจพาณิชย์กูล และ สโรช บุญศิริพันธ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้า. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57: สาขาวิทยาศาสตร์และพันธุวิศวกรรม, สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์, สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2562 (น. 441-447). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปณชัย อารีเพิ่มพร. (2564). ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าไทยปีนี้. สืบค้น 24 เมษายน 2565. จาก https://www.thestandard.co/ev-growth-288-percent/.

ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์. (2559). เศรษฐมิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). อีกไม่ถึง10 ปี รถยนต์ไฟฟ้าในไทยจะครองสัดส่วนยอดขายเกินครึ่ง. สืบค้น 24 เมษายน 2565. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/xEV-FB-23-04-2021.aspx.

สมาคมยายยนต์ไฟฟ้าไทย. (2564). ยานยนต์ไฟฟ้า. สืบค้น 24 เมษายน 2565. จาก http://www.evat.or.th/15708266/evtechnology?fbclid=IwAR2px1olJ649Pkcoyh_CukvzKOYnfBiSiXNm28Xc-.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2563). บีโอไอสนับสนุนไทยเป็นฐานผลิตยานยนต์แบตเตอรี่. สืบค้น 24 เมษายน 2565. จาก https://www.boi.go.th/un/boi_event_detail?module=news&topic_id=127178.

Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques. New York: John Wiley and Sons Inc.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Dutta, B., & Hwang, H. G. (2021). Consumers Purchase Intentions of Green Electric Vehicles: The Influence of Consumers Technological and Environmental Considerations. Sustainability, 13(21), 12025.

Febransyah, A. (2021). Predicting Purchase Intention towards Battery Electric Vehicles: A Case of Indonesian Market. World Electric Vehicle Journal, 12(4), 240.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Values. McGraw-Hill, Inc.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-27