ความเต็มใจที่จะยอมรับส่วนต่างของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • กรวีร์ วิเวก สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ณัฏฐณิชา ฉายรัศมี ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

พันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน, ส่วนต่างของผลตอบแทน, การหามูลค่าความเต็มใจ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเต็มใจที่จะยอมรับส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเต็มใจที่จะยอมรับส่วนต่างของผลตอบแทน และ (3) ประเมินค่าความเต็มใจที่จะยอมรับส่วนต่างของผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรรัฐบาลทั่วไป (Bond) กับพันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (ESG Bond) ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิธีสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินค่า (Contingent Valuation Method: CVM) ในการหามูลค่าความเต็มใจที่จะยอมส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 398 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการตระหนักรับรู้และเห็นด้วยว่าในปัจจุบันมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของรัฐ รวมทั้งให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวที่ตนเองพิจารณาว่าเป็นปัญหา ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจที่จะยอมรับส่วนต่างของผลตอบแทน ได้แก่ รายได้ ทัศนคติและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของรัฐ และการเข้าร่วมกิจกรรมและมีความกังวลต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลของรัฐ โดยส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนระหว่างพันธบัตรรัฐบาลทั่วไป (Bond) กับพันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (ESG bond) มีค่าเท่ากับ 0.19 (19 bps.)

References

ไณยณันทร์ นิสสัยสุข. (2559). ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. (นิเทศศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สัมฤทธิ์ น่วมศิริ, กิตติวัฒน์ จำเริญสัตย์, กฤษฎา มณีชัย, อภิวัฒน์ พลสยม และ พีระ พันธุ์งาม. (2561). การทุจริตคอรัปชั่นกับสังคมไทย. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 16(2), 273-282.

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. (2563). GREEN BOND. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2564. จาก https://www.pdmo.go.th/pdmomedia/documents/2020/Mar/info%20green%20bond.pdf.

สุดารัตน์ กันตะบุตร. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการซื้อสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

Asian Development Bank (2018). The Role of Greenness Indicators in Green Bond Market Development: An Empirical Analysis. Retrieved 15 September 2021. from https://asianbondsonline.adb.org/documents/abm/abm_jun_2018_role_greenness_indicators_green_bond_market_development.pdf.

Ben Slimane, M., Da Fonseca, D., & Mahtani, V. (2020). Facts and Fantasies aboutthe Green Bond Premium. Retrieved 15 September 2021. from https://www.researchgate.net/publication/348650560_Facts_and_Fantasies_about_the_Green_Bond_Premium.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.

Gianfrate, G., & Peri, M. (2019). The green advantage: Exploring the convenience of issuing green bonds. Journal of cleaner production, 219(3), 127-135.

Likert, R. (1961). New patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-26