การสำรวจและวิเคราะห์ป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ภัทรสิริโรจน์ สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กชกร ชอบสวน สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ณัฏฐณิชา อุดร สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นภัสสร วงชารี สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วาสิตา อยู่สว่าง สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศุภลักษณ์ ยะติน สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อาทิตยา สุวรรณสุข สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วัชรพล ศิริสุวิไล สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัชนี ปิยะธํารงชัย สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ป้ายชื่อร้านค้า, ภาษาจีน, จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยเก็บข้อมูลตัวอย่างป้ายร้านค้าภาษาจีนในย่านการค้าในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น ทั้งสิ้น 71 ร้าน สามารถแบ่งได้ 14 ประเภทธุรกิจ ผลการศึกษา พบว่า ร้านค้าประเภทร้านขายของชำและเบ็ดเตล็ด เป็นกิจการที่มีการตั้งชื่อร้านด้วยภาษาจีนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 28.17 เมื่อทำการสังเคราะห์แบ่งกลุ่มและทำการวิเคราะห์ พบว่า โครงสร้างชื่อร้านค้าที่ร้านค้าในจังหวัดขอนแก่นนิยมใช้มากที่สุดคือ โครงสร้างชื่อร้านที่มีองค์ประกอบโครงสร้างผสม โดยคิดเป็นร้อยละ 50.7 ของป้ายที่สำรวจได้ทั้งหมดและสามารถจัดแบ่งกลุ่มย่อยได้ 7 ประเภท ซึ่งในแต่ละโครงสร้างจะประกอบไปด้วย ชื่อ แซ่ คำบอกกิจการ คำบอกรูปแบบองค์กรธุรกิจ คำมงคล คำบอกสถานที่ โดยมีการจัดเรียงลำดับแตกต่างกันออกไป

References

บัวพันธ์ พรหมพักพิง, ยรรยงค์ อินทร์ม่วง, และ มนต์ชัย ผ่องศิริ. (2562). เมืองขอนแก่น: การเติบโต ความท้าทาย และโอกาส. กรุงเทพฯ: International Development Research Centre (IDRC) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environment Institute: TEI).

เบญจอาภา พิเศษสกุลวงศ์. (2563). ความหมายที่สะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับสิริมงคลบนแผ่นป้ายชื่อร้านค้าภาษาจีนใน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(25), 61-63.

เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). การสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร์, 8(2), 64-67.

วราลี รุ่งบานจิตและคณะ. (2562). การสำรวจและศึกษาการตั้งชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เศรษฐศาสตร์ วัตรโศก. (2562). เบิ่งจีนอีสาน: “คนจีนไร้รากอีสาน” ทิศทางจีนศึกษาในอนาคต. สืบค้น 2 กันยายน 2565. จาก https://theisaanrecord.co/2019/04/03/chinese-in-isaan-society/.

สุภัทรา โยธินศิริกุล. (2563). ภาษาบนป้ายชื่อร้านค้าชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตชุมชนเยาวราช: กรณีศึกษาชื่อร้านค้าภาษาจีนและภาษาไทย. มนุษยศาสตร์สาร, 21(1), 75-86.

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2551). ประวัติศาสตร์จีนอีสาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Skinner, G. (2005). Chinese Society in Thailand. Bangkok: greenprint.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-21