เปลี่ยนผ่าน “ตึ้งนั้ง”สู่ “เสียมหล่อนั้ง” การเปลี่ยนผ่านแซ่จีนสู่นามสกุลไทยของชาวไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รติชา นัคฆวงค์ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • ธณัฐสรณ์ พงษ์มณีศิลป์ นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • วัชรพล ศิริสุวิไล สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • รัชนี ปิยะธํารงชัย สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • ปรีมา ตันติพานิชธีระกุล นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แซ่, นามสกุล, ชาวไทยเชื้อสายจีน, จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การตั้งนามสกุลภาษาไทยของชาวจีนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยการเก็บข้อมูลตัวอย่างชื่อนามสกุลภาษาจีนและภาษาไทยของชาวไทยเชื้อสายจีนแบบเจาะจงในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนฮั่วเคี้ยววิทยาลัย และมูลนิธิสว่างขอนแก่นสามัคคีอุทิศ มีนามสกุลที่มีการเปลี่ยนแซ่จีนเป็นนามสกุลไทยทั้งสิ้น 160 นามสกุล ผลการศึกษา พบว่า วิธีการตั้งนามสกุลแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การตั้งนามสกุลแบบคงเค้าเดิมของแซ่ไว้ คิดเป็นร้อยละ 53.7 และการตั้งนามสกุลแบบไม่คงเค้าเดิมของแซ่ไว้ คิดเป็นร้อยละ 46.3 ซึ่งการตั้งนามสกุลแบบคงเค้าเดิมของแซ่ไว้มีรายละเอียดของลักษณะ และรูปแบบของการตั้งนามสกุลที่มีความซับซ้อนมากกว่าการตั้งนามสกุลแบบไม่คงเค้าเดิมของแซ่ไว้ นอกจากนี้ยังพบการใช้อัตลักษณ์ทางพื้นที่ และอัตลักษณ์ด้านอาชีพมาเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งนามสกุลของคนไทยเชื้อสายจีนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

References

กุสุมา จอมพุทธา. (2525). นามสกุลชาวโคราช. นครราชสีมา: แผนกเอกสารการพิมพ์วิทยาลัยครูนครราชสีมา.

เมชฌ สอดส่องกฤษ. (2555). การสํารวจและการศึกษาวิเคราะห์ชื่อร้านค้าภาษาจีนของชาวไทยเชื้อสายจีนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปะศาสตร์, 8(2), 64-70.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วนิดา เจริญศุข. (2532). นามสกุลของคนไทยเชื้อสายจีน: การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธ์. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2551). ประวัติศาสตร์จีนอีสาน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2532). คำจำกัดความศัพท์ในภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Lemoine, J. (1991). From Lawa to Mon, from Saa'to Thai: Historical and Anthropological Aspects of Southeast Asian Social Spaces. (Occasional Paper of the Department of Anthropology, Nanzan University).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-22