แนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมแบบบูรณาการให้แก่ผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาศูนย์โฮมสุข เทศบาลตำบลนาจารย์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
สวัสดิการสังคม, บูรณาการ, ผู้สูงอายุ, ศูนย์โฮมสุขบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การบูรณาการการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์โฮมสุขและภาคีเครือข่าย (2) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบูรณาการการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์โฮมสุขและภาคีเครือข่าย และ (3) แนวทางการพัฒนาการบูรณาการการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์โฮมสุขและภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ศูนย์โฮมสุข ภาคีเครือข่าย และผู้สูงอายุหรือแกนนำผู้สูงอายุ ของศูนย์โฮมสุข เทศบาลตำบลนาจารย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 49 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า การบูรณาการการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์โฮมสุขและภาคีเครือข่าย รวมถึงอย่างยั่งยืน มี 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านความมั่นคงของอาหาร 3) ด้านสุขภาพ 4) ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5) การมีน้ำอุปโภค - บริโภคเพียงพอ และการจัดการสุขาภิบาลอย่างเหมาะสม
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการบูรณาการการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์โฮมสุขและภาคีเครือข่าย พบว่า มี 5 ด้าน คือ 1) มีแผนการทำงานชัดเจน 2) มีการสนับสนุนงบประมาณจากภาคส่วนต่างๆ 3) มีสถานที่รองรับการจัดกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์เพียงพอ 4) มีแนวคิดการเป็นเจ้าของร่วมศูนย์โฮมสุข และเป้าหมายในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ และ 5) การประชาสัมพันธ์การได้รับรางวัลของศูนย์โฮมสุข
แนวทางการพัฒนาการบูรณาการการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์โฮมสุขและภาคีเครือข่ายอย่างยั่งยืน พบว่า การทำงานระหว่างศูนย์โฮมสุขกับชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน มีปัจจัยสำคัญ ประกอบด้วย ด้านบุคลากร ด้านแผนงาน/โครงการ ด้านงบประมาณ และด้านการประชาสัมพันธ์
References
กฤษณ์ ภูรีพงศ์ และคณะ. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุใน ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 1-17.
ชัยพร พิบูลศิริ. (2551). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการจัดสัวสดิการสังคมขององค์กรชุมชน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 8(1), 57-84.
เทศบาลตำบลนาจารย์. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2561 เทศบาลตำบลนาจารย์. สืบค้น 1 ตุลาคม 2562. จาก http://www.dop.go.th/th/know/1/238.
นารีรัตน์ จิตรมนตรี และสาวิตรี ทยานศิลป์. (2552). การทบทวนองค์ความรู้และแนวทางการจัดระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
บัวพันธ์ พรหมพักพิง และคณะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบูรณาการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการ ชุมชนในระดับอำเภอ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: กลุ่มวิจัยความอยู่ดีมีสุขและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประภาศรี อึ่งกุล และ บัญฑิต ไวว่อง. (2563). การบริหารจัดการสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11 วันที่ 27 มีนาคม 2563. (น. 734-744). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสนันทา.
พงษ์ศักดิ์ นาต๊ะและคณะ (2562). การบูรณาการในระบบสุขภาพชุมชน. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(1), 78-91.
ภรธิดา พงศ์พนัสและคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของคนพิการทางการเคลื่อนไหว ในอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง .วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 28(2), 1-12.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา.คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
วริฎฐา แก้วเกตุ. (2550). การจัดสวัสดิการแบบบูรณาการในชุมชนโดยหุ้นส่วน การพัฒนาหลายฝ่าย ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลน้ำเกี๋ยน กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิภาวี กฤษณะภูติ. (2554). สวัสดิการสังคม. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิรัตน์ คำศรีจันทร์ และคณะ. (2550). ปรับแนวคิดร่วมชีวิตผู้สูงอายุ : การทบทวนแนวคิดและองค์ความรู้เบื้องต้นเพื่อพัฒนาสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ. นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2549). สวัสดิการสังคม: วิธีปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี้.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2550). ศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน: กลไกการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก็อปปี้.
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2552). บูรณาการระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: เจพริ้น 2.
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2560). คู่มือการบูรณาการความร่วมมือ 4 กระทรวง การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตในช่วงวัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.
อลงกต สารกาล และศักดิ์ศิทธิ์ ฆารเลิศ. (2561). แนวทางการสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม: กรณีศึกษา เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9(1), 29-58.
Nordmyr, J., Creswell-Smith, J., Donisi, V., Lara, E., Martín-María, N., Nyholm, L., & Forsman, A. K. (2020). Mental well-being among the oldest old: revisiting the model of healthy ageing in a Finnish context. International journal of qualitative studies on health and well-being, 15(1), 1734276.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.