คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, จังหวัดอุดรธานีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุ ในตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลนาพู่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามคุณภาพชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือใช้สถิติ Independent t-test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นำเสนอผลการศึกษาในรูป ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t และค่า p-value โดยเลือกศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจงกับประชากรสูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุนาพู่ทั้งหมด 300 คน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุทั้งสองกลุ่มมีคุณภาพชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างดี โดยผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุบ่อยมีครั้งมีคุณภาพชีวิตโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับค่อนข้างดี ค่าเฉลี่ย 3.18 ซึ่งดีกว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุน้อยครั้ง ค่าเฉลี่ย 2.90 ทั้งในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อม ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการเข้าร่วมกิจกรรมภายในโรงเรียนผู้สูงอายุ ทั้งนี้เพราะการเข้าร่วมกิจกรรมภายในโรงเรียน จะช่วยให้สภาพจิตใจของผู้สูงอายุดีขึ้น และทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความรู้สึกว่าตนเองไม่โดดเดี่ยว และเมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิต รายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย 3.65
ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลนาพู่ คือ ปัจจัยด้านสถานภาพสมรส ลักษณะครอบครัว การเป็นสมาชิกชมรม หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ฐิตินันท์ นาคผู้. (2558). การพึ่งตนเอง การเสริมสร้างพลังทางสุขภาพ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และความสุขของผู้สูงอายุ ตำบลทับยายเชียง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(1), 88-104.
มุจลินท์ แปงศิริ. (2558). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุ ตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานข้อมูลตำบลนาพู่ ระบบสามหมอรู้จักคุณ:กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. สืบค้น 20 เมษายน 2565. จาก https://3doctor.hss.moph.go.th/main/.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุทธิชัย จิตะพันธุ์กุล และคณะ. (2545). รายงานการทบทวนองค์ความรู้และสถานการณ์ในปัจจุบันตลอดจนข้อเสนอแนะทางนโยบายและการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2559). แบบคัดกรองสุขภาพจิต: เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2555). รายงานการประชุม คณะกรรมการผู้สงอายุแห่งชาติ (กผส.) ครั้งที่ 1/2555 รายงานคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.
Naghavi, M. S., Jofreh, M. G., Vaezi, R., & Ghorbanizadeh, V. (2019). Empowerment of the professional ageing workforce: a review and development of a model. European Journal of International Management, 13(2), 269-286.
Oliveira, L., Poínhos, R., Afonso, C., & Vaz Almeida, M. D. (2021). Information Sources on Healthy Eating Among Community Living Older Adults. International Quarterly of Community Health Education, 41(2), 153-158.
Roth, A. R. (2020). Informal caregiving and network turnover among older adults. The Journals of Gerontology: Series B, 75(7), 1538-1547.
United Nations. (2017). World Population Prospects: The 2017 Revision. USA: UN.
United Nations. (2020). World Population Prospects: The 2020 Revision. USA: UN.
World Health Organization (WHO). (2002). Active aging: a policy framework. Geneva: WHO.
World Health Organization (WHO). (2014). Aging and Life Course. Retrieved 4 April 2022, from http://www.who.int/ageing/active_ageing/en/.