ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • คณวัชร์ ประทุมชัย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย
  • สมาน ประวันโต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย
  • สมใจ มณีวงษ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์, ผู้บริหารสถานศึกษา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสถานศึกษา (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภlาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ (4) เพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง เครซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มตัวอย่าง รวมจำนวน 374 คนประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 52 คน และครูผู้สอน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.958 ผลการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูงสุด ได้แก่ ความยืดหยุ่นและปรับตัว และความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงสร้างที่มีอำนาจพยากรณ์ต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู พบว่า ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการคำนึงถึง ความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการมีความยืดหยุ่นและปรับตัวตามลำดับ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). ท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2559). ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. สมุทรปราการ: ธีรสาส์นพับลิวเซอร์.

กฤษพล อัมระนันท์. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่วงก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์).

กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

เกศสรินทร์ ตรีเดช. (2552). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ธนัณฏา ประจงใจ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมตามความคิดเห็นของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี).

ธีระ รุจเจริญ. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ธุมากร เจดีย์คำ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี).

บุณรดา ทรงบุญศาสตร์. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกบา เขต 24. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สาริศา พาทีสินธ์. (2554). สุดยอดเทคนิคฝึกสมอง ไขกลยุทธ์สู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.

สุกัญญา รอดระกํา. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018” 30 พฤศจิกายน 2561 (น. 575-579). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุภาพ ฤทธิ์บำรุง และ วัลลภา อารีรัตน์. (2557). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 8(2), 190–198.

อริศษรา อุ่มสิน. (2560). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี).

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Hoy, W.K. & Miskel, C.G. (2001). Educational Administrations Theory Research and Practice. (6th ed.). New York: McGraw – Hill.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.

Robinson, K. (2007). The Principles of Creative Leadership. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-31