ผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล Ayutthaya Healthcare Ecosystem สำหรับเจ้าหน้าที่สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการดูแลสุขภาพของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นครินทร์ อาจหาญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
  • สุกัญญา บัวศรี สาขาวิชาการพยาบาลชุมชนและการรักษาโรคเบื้องต้น คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย ประเทศไทย
  • ธีรพันธ์ จันทร์เป็ง สาขาวิชาการพยาบาลชุมชนและการรักษาโรคเบื้องต้น คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีดิจิตอล, เจ้าหน้าที่สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การดูแลสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิตอล Ayutthaya Healthcare Ecosystem (2) ประเมินผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล Ayutthaya Healthcare Ecosystem (3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล Ayutthaya Healthcare Ecosystem สำหรับเจ้าหน้าที่สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการดูแลสุขภาพของประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คำนวณกลุ่มตัวอย่างวิธี Krejcie&Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ อุปกรณ์ IoT และ Ayutthaya Healthcare Ecosystem และ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า มีระบบปฏิบัติการและเครื่องมือที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชนเป็นข้อมูลสารสนเทศ สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการติดตามอาการ และปรับแผนการรักษา ในพื้นที่นำร่อง สามารถลดความแออัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานบริการได้ร้อยละ 92.8 ส่วนเจ้าหน้าที่สถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีระดับความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีดิจิตอล Ayutthaya Healthcare Ecosystem ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยด้านการใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ ได้ข้อมูลที่สำคัญจำเป็นเพียงพอต่อการรักษาของแพทย์ รองลงมา สามารถสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ ด้านนวัตกรรม พบว่า เป็นอุปกรณ์และเครื่องมือที่มีความทันสมัย รองลงมา มีประสิทธิภาพสามารถใช้งานได้ครอบคลุมทุกพื้นที่

References

กิตติยา วงษ์ขันธ์. (2561). รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) และ รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR). สืบค้น 17 สิงหาคม 2565. จาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2018072012262188.pdf.

นันทินารี คงยืน. (2560). ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิกับมาตรฐานการพัฒนา. วารสารกฎหมายและสาธารณสุข, 3(3), 374-387.

บุษยารัตน์ ศิลปะวิทยาทร และบุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพในการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 6-14.

วิชัย ศิริวรวัจน์ชัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 4(2), 63-75.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถิติผู้ป่วยโรคเรื้อรังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้น 2 ธันวาคม 2565. จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฏ และอมรรัตน์ นธะสนธิ์. (2562). ประสบการณ์อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 21(1), 109-116.

Grove, S. K., Burns, N., & Gray, J. R. (2013). The practice of nursing research. Missouri: Elsevier.

Kaya N, Turan N & Aydın GÖ. (2016). Innovation in Nursing: A Concept Analysis. J Comm Pub Health Nursing, 2(1), 1-4.

Odendaal,W,A., Watkins,J,A., Leon,N., Goudge,J., Griffiths,F., Tomlinson, M., & Daniels,K. (2020). Health workers’ perceptions and experiences of using mHealth technologies to deliver primary healthcare services: a qualitative evidence synthesis. Cochrane Database of Systematic Reviews, (3), DOI: 10.1002/14651858.CD011942.pub2.

Rogers EM. (2003). Diffusion of innovations. (4th ed). New York: Simon & Schuster Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-06