ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลวิทยาลัยสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธีระ แสงรัตน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย
  • สมาน ประวันโต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย
  • ศศิรดา แพงไทย สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ทักษะการบริหาร, ผู้บริหารสถานศึกษา, ศตวรรษที่ 21, ประสิทธิผลวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 (2) ระดับประสิทธิผลของวิทยาลัย (3) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของวิทยาลัยสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี และ (4) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของวิทยาลัยสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิทยาลัยสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 ใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า ระดับทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาวิทยาลัยสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมในระดับมาก ระดับประสิทธิผลของวิทยาลัยสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลของวิทยาลัยสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของวิทยาลัยสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้แก่ ทักษะการกำหนดวิสัยทัศน์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .720 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 51.90

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

จารี เส็งหนองแบน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการจัดการศึกษาและประสิทธิผลโรงเรียนอนุบาลระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 “การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทองถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21” 28 กรกฎาคม 2559 (น. 301-313). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ไชยา ภาวะบุตร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ฉบับปรับปรุง 2560. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิพล แก้วกาหลง. (2564). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญส่ง กรุงชาลี. (2561). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

พรทิพย์ มงคลเสถียร. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.

วิทยา สวนกุหลาบ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).

สัตตบุษย์ โพธิรุท. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราช-ภัฏสกลนคร).

สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26