กลยุทธ์การบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, องค์กรแห่งการเรียนรู้, การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพแวดล้อมการบริหารองค์กรของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) สร้างกลยุทธ์การบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 15 คนเกี่ยวกับสภาพการบริหาร ผู้เชี่ยวชาญการสร้างกลยุทธ์จำนวน 9 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คนโดยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและภายใน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ผลการศึกษา พบว่า สภาพแวดล้อมการบริหารองค์กรของสถานศึกษา มีจุดแข็งคือ ด้านโครงสร้างและนโยบายเพราะโครงสร้างการบริหารที่เข้มแข็งและมีนโยบายที่สอดคล้องกับการบริหารหรือการปฏิบัติงาน และมีโอกาสคือ ด้านสังคมและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีองค์ประกอบดังนี้ 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าหมาย 4) กลยุทธ์ และในองค์ประกอบย่อยจะประกอบดังนี้ มาตรการ, ตัวชี้วัดความสำเร็จ, เป้าหมาย, โครงการ/กิจกรรม และกลยุทธ์การบริหารสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มี 5 ประการ ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้, กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการปฏิบัติงาน, กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้มีความทันสมัยและพร้อมใช้งาน, กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมให้สถานศึกษามีเครื่องมือทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่ทันสมัยและพร้อมใช้งาน และกลยุทธ์ที่ 5ส่งเสริมให้บุคลากรของสถานศึกษามีวิสัยทัศน์มีแบบแผนทางความคิดและทำงานร่วมกันเป็นทีม ผลการประเมินกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสม เป็นไปได้ เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้
References
กรรนภัทร กันแก้ว และคณะ. (2563). องค์กรแห่งการเรียนรู้กับความท้าทายในการจัดการความรู้ในกระบวนทัศน์การของเปลี่ยนแปลง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(2), 241-254.
กิตติมา ใจปลื้ม และคณะ. (2564). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(6), 46-60.
พรพนา ศรีสถานนท์ และคณะ. (2562). กลยุทธ์ในการพัฒนาสถาบันรัชภาคย์สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารรัชภาคย์, 13(29), 102-112.
ภูมิภัทร กลางโคตร์ และคณะ. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้แบบมืออาชีพสาหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(2), 63-71.
ราตรี ต๊ะพันธุ์ และ อัญชลี ชยานุวัชร. (2563). กลยุทธ์การพัฒนาโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดการเรียนรู้ขององค์กร. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(3), 54-69.
วรติกร พุฒิประภา และนุชนรา รัตนศิระประภา. (2562). องค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านลานแหลม (สรนุวัตรราษฎร์ อุทิศ). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 517-526.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ.2560- 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2563 (IMD 2020). นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2564). บริบททั่วไปของ สำนักงาน กศน.จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้น 18 สิงหาคม 2564. จาก http://surat.nfe.go.th.
David A. Garvin. (2002). General Management: Processes and Action Text and cases. London: McGraw-Hill.
Peter M. Senge. (1990). The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.
Stata R. (1989). Organizational Learning-The Key to Management Innovation. MIT Sloan Management Review, 30(3), 63-74.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.