ผลกระทบของโควิด-19 ต่อห่วงโซ่อุปทานบริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องส่งออก

ผู้แต่ง

  • ธนเดช ศิริชัยภิญโญ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ณัฐพล พจนาประเสริฐ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • กุลภา กุลดิลก สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โควิด-19, ปลาทูน่ากระป๋องส่งออก, ห่วงโซ่อุปทาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ต่อห่วงโซ่อุปทานบริษัทส่งออกปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ของประเทศไทย และ (2) เสนอแนะแนวทางในการดำเนินธุรกิจเพื่อจัดทำแผนรับมือความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะคล้ายคลึงกับโควิด-19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบศึกษาเฉพาะกรณี ซึ่งนำเสนอผ่านมุมมองของบุคคลภายนอกอุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ คือ การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ร่วมกับการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อห่วงโซ่อุปทานของบริษัทส่งออกปลาทูน่ากระป๋องขนาดใหญ่ ได้แก่ จำนวนผู้ขายปลาทูน่าดิบลดลงโดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ช่องทางการนำเข้าวัตถุดิบ และการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศเป็นไปด้วยความล่าช้า ต้องกระจายไปยังท่าเทียบเรือในภูมิภาคที่ไกลจากโรงงานผลิต บุคคลากรในสำนักงานต้องปรับเป็นการทำงานผ่านช่องทางออนไลน์ และแรงงานในกิจกรรมการผลิตต้องปรับลดจำนวนในการเข้าสู่พื้นที่ทำงาน และประสบปัญหาเรื่องการเดินทางข้ามพรมแดนสำหรับแรงงานรายวันชาวต่างด้าว กิจกรรมการผลิตวางแผนนำเครื่องจักร และเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานมนุษย์มากขึ้น ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนในการบริหารจัดการกิจกรรมเพื่อป้องกันโควิด-19 มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการจัดหาพื้นที่สำหรับพักสินค้าที่พร้อมส่งออกจากปัญหาลดจำนวนชั่วโมงการทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำท่าเทียบเรือ และจากปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ จากการสังเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ประกอบกับข้อมูลทุติยภูมิ สามารถเสนอแนะแนวทางจัดทำแผนการรับมือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยจัดตั้งสมาคมอุตสาหกรรม หรือสร้างความร่วมมือเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในสถานการณ์ฉุกเฉิน เน้นวางแผนในการปรับรูปแบบการทำงานผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น รวมถึงพิจารณาปรับลดการพึ่งพาแรงงานบุคคล เน้นการนำเครื่องจักร และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในกิจกรรมของกระบวนการดำเนินธุรกิจมากขึ้น

References

กรมประมง. (2564). การค้าสินค้าประมงของไทยในรอบ 10 ปี (2555–2564). กรุงเทพฯ: กรมประมง

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนและมาตรการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ชนิกานต์ ธนูพิทักษ์. (2556). การปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันปัญหาการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับของประเทศไทยเพื่อส่งออกสินค้าไปสหรัฐอเมริกา: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋อง. Journal of Social Research, 36(2), 159-213.

นวฤทธิ์ ตุ้มม่วง. (2563). ผลกระทบและการปรับตัวในการดำเนินธุรกิจส่งออกดอกกล้วยไม้ของบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรีหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พีรธัช ถนอมจิตร์. (2564). การวิเคราะห์การส่งออกและความสามารถในการแข่งขันปลาทูน่ากระป๋องของประเทศไทยไปยังตลาดประเทศสำคัญ. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2563). โรคระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19): ผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยและกลยุทธ์ในการฟื้นฟูกิจการ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2), 9–25.

ศิระประภา เอื้อวิวัฒน์สกุล. (2563). ผลกระทบและทิศทางของภาคอุตสาหกรรมหลังสถานกาณณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. กรุงเทพฯ: กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ศิริลักษณ์ โชคชี้ชัย. (2558). การวิเคราะห์ความสามารถในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของประเทศไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกา. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย. (2563). รายงานการประชุมสามัญประจำปี 2563 สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย. สืบค้น 3 ธันวาคม 2565. จาก https://thaituna.org/main/downloads/annual-general-meeting/.

สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย. (2564). รายงานการประชุมสามัญประจำปี 2564 สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย. สืบค้น 3 ธันวาคม 2565. จาก https://thaituna.org/main/downloads/annual-general-meeting/.

สิริมา ศรีสวัสดิ์. (2565). การคัดเลือกและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยงบนห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมปลาทูน่าประเทสไทยภายใต้สถาพแวดล้อมที่คลุมเครือ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(2), 104–117.

อิสระ ชาญราชกิจ และคณะ. (2563). ผลกระทบวิกฤตโควิด19 ชาวประมงพื้นบ้านปรับตัวอย่างไร. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3(2), 77-101.

Sumner, A., Hoy, C., & Ortiz-Juarez, E. (2020). Estimates of the Impact of COVID-19 on Global Poverty (No. 2020/43). Helsinki: WIDER working paper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-27