ผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง : กรณีศึกษา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
โปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ (1) โปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ (2) แผนการสอน (3) เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสอบถามความตระหนักรู้ (2) แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และรับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตพื้นที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคัดเลือกกลุ่มเปรียบเทียบโดยวิธีการจับคู่ ได้กลุ่มละ 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ได้แก่ Independent t-test และ Paired t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีระดับคะแนนเฉลี่ยของความตระหนักรู้ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<.001***) ความตระหนักรู้และพฤติกรรมการรับประทานอาหารของกลุ่มทดลองมีระดับคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอยู่ในระดับปกติเมื่อเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001***)
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: บริษัท อิโมชั่น อาร์ต จำกัด.
กานต์ชนก สุทธิผล. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์สุขภาพชุมชนประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลราชบุรี. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร, 5(2), 1-12.
ชัชลิต รัตรสาร. (2564). สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565. จาก https://bit.ly/2Ppuz4K.
ณัฐณิชา หาญลือ, สุภัสสร สิมอุด, สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน และ ภคิน ไชยช่วย. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(2), 20-31.
ดวงเดือน หันทยุง, วรพล แวงนอก และ วรากร เกรียงไกรศักดา. (2559) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 36-51.
ดวงหทัย แสงสว่าง, อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ และ นิลาวรรณ งามขำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 103-117.
พลอย ทรัพย์ไพบูลย์กิจ. (2564). ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. (พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, โสภิต สุวรรณเวลา และ วราณี สัมฤทธิ์. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ในเขต อ.เมือง จ.ตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 94-107.
วิชัย เอกพลากร. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565. จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=cf7d9da207c0f9a7ee6c4fe3f09f67dd&id=df9a12ff1c86ab1b29b3e47118bcd535.
สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย. (2562). ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. SOUTHEST BANGKOK JOURNAL, 5(1), 55-68.
อัศนี ศศิภัทรพงศ์. (2565). ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในคลินิกหมอครอบครัวชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 9(1), 1-16.
Grove, S. K., Burns, N., & Gray, J. R. (2013). The practice of nursing research. Missouri: Elsevier.
Rosenstock, I.M., Strecher, V.J. and Becker, M.H. (1988) Social learning theory and the health belief model, Health Education Quarterly, 15, 175–83.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.