แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตวชิรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่

ผู้แต่ง

  • จันทิมา เพชรสุทธิ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูพิจิตรศุภการ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • บุญเลิศ วีระพรกานต์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์, สื่อสังคมออนไลน์, การบริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตวชิรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ (2) ศึกษาแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ร่างแนวทางและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 5 คน ผลการศึกษา พบว่า สภาพการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตวชิรมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook, Line, Google Application, Microsoft Office ในการบริหารสถานศึกษาส่งผลให้การปฏิบัติภารกิจงานต่างๆ บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook, Line, Google Application, Microsoft Office ในด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย 1) วางแผนกำหนดนโยบายการใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามภารกิจขอบเขตงานของการบริหารสถานศึกษา 2) กระบวนการบริหารจัดการการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการบริหารสถานศึกษา 3) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถความชำนาญในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 4) การตรวจสอบ นิเทศ ติดตามการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการบริหารสถานศึกษา 5) การรายงานผล ประเมินผลและปรับปรุงการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการบริหารสถานศึกษา

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2556). Social media สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. Veridian E-Journal, SU, 6(1), 72-81.

ธนะวัฒน์ วรรณภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 7-20.

นฤมล บุญส่ง. (2561). สื่อสังคมกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2873-2885.

ภคพร เลิกนอก. (2563). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(2), 150-166.

รักเกียรติ พันธ์ชาติ. (2559). สื่อสังคมออนไลน์ : แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของรัฐ. สืบค้น 17 สิงหาคม 2565. จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2060-2561/PDF.

วินัย เพ็งวัน, ปรีชา คัมภีรปกรณ์ และ รัชฎาพร งอยภูธร. (2564). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสในจังหวัดนครพนม. วารสารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(35), 300-310.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560- 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิค.

อรรถพล ทองวิทยาพรม และคณะ. (2561). การใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศรีสงคราม มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารรมหาวิทยาลัยนครพนม, 8(3), 81-89.

Liu, Y. (2010). Social media tools as a learning resource. Journal of Educational Technology Development and Exchange, 3(1), 101-104.

Powers, K., & Green, M. (2016). Principals’ perspectives on social media in schools. The Journal of Social Media in Society, 5(2), 134-168.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-28