รูปแบบการนิเทศการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษาเครือข่ายชัยบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • กรองกาญจน์ สังข์ทอง สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูประโชติกิจจาภรณ์ สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การนิเทศการสอน, รูปแบบการเรียน, ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการนิเทศการสอนของสถานศึกษาในเครือข่ายชัยบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 (2) ศึกษารูปแบบการนิเทศการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษาในเครือข่ายชัยบุรี (3) ประเมินรูปแบบการนิเทศการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษาในเครือข่ายชัยบุรี การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล แบบอุปนัย ผลการศึกษา พบว่า สภาพการนิเทศการสอนของสถานศึกษาเครือข่ายชัยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประกอบด้วยทั้งหมด 5 ด้าน 1) การเตรียมความพร้อมก่อนสอน 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 4) การจัดบรรยากาศและบริหารชั้นเรียนและ 5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน สำหรับสภาพโดยภาพรวม พบว่า มีการประชุมชี้แจงและแต่งตั้งคณะกรรมการในการนิเทศการสอน ตามปฏิทินการนิเทศและแบบบันทึกการนิเทศการสอนอย่างชัดเจน รูปแบบการนิเทศการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษาในเครือข่ายชัยบุรีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนสอน 2) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) การใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 4) การจัดบรรยากาศและบริหารชั้นเรียนและ 5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ภายใต้รูปแบบของการเรียนแบบ On Site การเรียนแบบ On line การเรียนแบบ On Air การเรียนแบบ On Demand การเรียนแบบ On Hand และการเรียนแบบ Blended Learning ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสถานศึกษาในเครือข่ายชัยบุรีโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ในการบริหารงานวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ซินดิเคท.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องการเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์. (2562). การนิเทศการสอนในยุค 4.0. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

นัฏพันธ์ ดิศเจริญ. (2565). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(2), 810-825.

วิรัลพัชร นิลแก้วบวรวิชญ์ และ ธัชชัย จิตรนันท์. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพเพื่อพัฒนางานวิชาการด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 9(1), 122-138.

สมาน ศรีเครือ. (2550). การนิเทศงานเพื่อพัฒนาบุคลากร. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร),

อาทิฐยา วรนิตย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดกาเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม).

Glickman, C. D., Gordon, S. P., & Ross-Gordon, J. M. (2017). Supervision and instructional leadership: A developmental approach. United States of America: Pearson Education Company.

Marczely, B. (2002). Supervision in Education: A Differentiated Approach with Legal Perspectives Instructor's Manual. United States of America: R&L Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-27