ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุชาดา นิลสาขา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • รัฐพร กลิ่นมาลี สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ผู้นำเชิงนวัตกรรม, การบริหารงานวิชาการ, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร (2) การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา (3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการสถานศึกษา และ (4) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 310 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการส่งเสริมองค์กรนวัตกรรมและเทคโนโลยี และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการทำงานและทำงานเป็นทีม การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการวัดผลและประเมินผลเทียบโอน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการบริหารหลักสูตร พัฒนาหลักสูตร และนำไปใช้ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันระดับปานกลาง ในทางบวก มี 2 ด้าน คือ ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ และด้านการมีคุณธรรมจริยธรรม ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ควรมุ่งเน้นในด้านการมีส่วนร่วมในการทำงานและทำงานเป็นทีม ส่งเสริมให้ครูและบุคลากร มีน้ำใจ ช่วยเหลือกัน พัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และปฏิบัติตามหลักวิชาชีพ

References

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ณัฐพงษ์ ปรีชานนทกุล. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ สถานศึกษา สังกัดสำนักสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

ปาริฉัตร ช่อชิต และมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 80-93.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สายทอง โพธิ์น้ำเที่ยง. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มธนบุรี สังกัดกรุงเทพมหานคร. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). แนวคิดเชิงนวัตกรรมสําหรับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก, 14(2), 117-128.

สุนันทา เลาหนันท์. (2551). การสร้างทีมงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แฮนดเมดสติกเกอร์ แอนด์ดีไซน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-29