ผลกระทบของการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ และการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อผลการดำเนินงาน ของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พัณณ์ภรณ์ พลพิทักษ์ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม สถาบันวิชาการวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • สมบูรณ์ สาระพัด สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม สถาบันวิชาการวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์, การมีส่วนร่วม, ผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ตัวเงิน, ผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลกระทบของการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานทั้งเป็นตัวเงินและไม่ได้เป็นตัวเงินของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี (2) ศึกษาผลกระทบของการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี และ 3) ศึกษาผลกระทบของผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ตัวเงินที่มีผลต่อผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงิน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 335 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ ด้านการวิเคราะห์ตัวผลักดันต้นทุน ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ด้านที่ไม่ใช่ตัวเงิน และด้านที่เป็นตัวเงิน การมีส่วนร่วม ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการประเมินผลร่วมกัน ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ด้านที่ไม่ใช่ตัวเงิน และการมีส่วนร่วม ด้านการปฏิบัติงาน ด้านผลประโยชน์ และด้านการประเมินผลร่วมกัน ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ด้านที่เป็นตัวเงิน ผลการดำเนินงาน ด้านที่ไม่ใช่ตัวเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการทำงานในองค์กร และด้านการเรียนรู้และการเติบโต ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ด้านที่เป็นตัวเงิน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กฤษณี มหาวิรุฬห์. (2546). แนวคิดการบริหารแบบ Balanced Scorecard. สืบค้น 26 ธันวาคม 2565. จาก https://www.sar.tpad.police.go.th/downloads/dynamic/dynamic-17429332.pdf.

จิรประภา ประจวบสุข. (2557). ผลกระทบของการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(1), 26–35.

ณัฐ ธารพานิช. (2562). การสร้างนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม. ใน งานสัมมนาวิชาการประจำปี 2562 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 41 “นวัตกรรมพลิกโลก: การเปลี่ยนผ่านและความท้าทายของประเทศไทย” 24 มกราคม 2562 (น. 176-192). กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ดนัย เทียนพุฒ. (2545). การบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: นาโกต้า.

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัดมหาชน. (2562). รายงานประจำปี 2562. สืบค้น 26 ธันวาคม 2565. จาก https://investor.amata.com/th/downloads/annual-reports.

ภัชญาภรณ์ การบรรจง. (2555). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้การบริหารต้นทุนสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารในประเทศ. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ระวิศักดิ์ กิติราช. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ผลการดำเนินงานที่ไม่เป็นตัวเงิน และผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเงิน ของอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข., 11(2), 102–123.

วิภาดา ศุภรพันธ์. (2548). จะเปลี่ยนไปใช้ระบบ ABC ในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ดีหรือไม่. วารสารวิชาชีพบัญชี, 1(2), 93-105.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย วาระนุช. (2551). ผลกระทบของการมีส่วนร่วมในงานที่มีต่อคุณภาพการทำงานของนักบัญชี ธุรกิจเครื่องแต่งกายในประเทศไทย. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

Chapin, F. S. (1997). Social Participation and Social Intelligence. In Handbook of. Research Designate Social Measurement. New York: Longman.

Foster, G., & Horngren, C. T. (1987). Cost Accounting: A Managerial Emphasis. New Jersey: Prentice-Hall.

Hema, D. (2018). Emergence of Strategic Cost Management. Sansmaran Research Journal, 8(2), 67–69.

Pearse, A. C., & Stiefel, M. (1979). Inquiry into participation: a research approach. Geneva: United Nations Research Institute for Social Development.

Wheeler, S., & Pany, K. (1990). Assessing the performance of analytical procedures: A best case scenario. Accounting Review, 7(1), 557–577.

Ziegenfuss, D. (2000). Developing an internal auditing department balanced scorecard. Managerial Auditing Journal, 15(1/2), 12–19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-13