การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน

ผู้แต่ง

  • เอนก ใยอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • พระคมสัน เจริญวงค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ กัติยัง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษา วิเคราะห์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน และ (2) เสนอรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยดังนี้ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มจังหวัดและพื้นที่กรณีศึกษา ได้แก่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยใช้เครื่องมือ 2 แบบ คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงการสร้างเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สนับสนุนตามกฎหมาย กลุ่มภาคีเครือข่าย กลุ่มผู้ประกอบการ รวม 18 คน เป็นหน่วยในการวิเคราะห์ 2) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยใช้แบบจดบันทึกข้อมูลการประชุมเชิงปฏิบัติการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกนำไปวิเคราะห์ใน 2 รูปแบบ คือ 1) การวิเคราะห์เนื้อหา และ 2) การวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วยจังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง มีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการบริหารงานยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด นับว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการบริหารงานแบบบูรณาการ โดยการรวมกลุ่มจังหวัดที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงในด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เนื่องจากมีกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจแบบครบวงจร อาทิ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โรงงานอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ มีผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าและบริการหลากหลาย การคมนาคมที่เชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีธุรกิจขนาดกลางและขยาดย่อมมีสินค้าและบริการที่ถูกพัฒนาขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างรายได้ให้แก่จังหวัด มีหน่วยงานองค์กรที่สนับสนุนจำนวนมาก ควรมีการพัฒนาระบบการทำงานเชิงบูรณาการ โดยเฉพาะด้านการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาในระดับพื้นที่

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). คู่มือการบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2563. สืบค้น 4 มกราคม 2565. จาก https://www.mots.go.th/news/category/593.

กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน. (2560). ลุ่มน้ำแห่งประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน. สืบค้น 20 เมษายน 2565. จาก https://www.osmuppercentral.go.th/frontpage.

จาก https://www.sme.go.th/th/page.php?modulekey=5.

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2563). การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์มะพร้าว ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 7(1), 95-128.

พฤทธิ์พงศ์ ไชยพหล. (2562). การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำรงชีพในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ยุภา ประยงค์ทรัพย์. (2553). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กรณี : ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์).

วันปิติ ธรรมศรี และ ณัฐพร จอมคำสิงห์. (2558). บทบาทขององค์กรท้องถิ่นในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หมูหันของตำบลท่าข้าม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการขับเคลื่อนกิจชุมชน (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน. (2561). การท่องเที่ยวชุมชน. สืบค้น 15 ธันวาคม 2565, จาก https://shorturl.asia/mx68h.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2566). วิสัยทัศน์ (Vision) พ.ศ. 2566-2570 “เป็นผู้ชี้นำในการขับเคลื่อนและเพิ่มศักยภาพ MSME สู่ความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน”. สืบค้น 15 ธันวาคม 2566.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2561). OTOP นวัตวิถี ดึงภูมิปัญญา-วิถีชีวิตเพิ่มรายได้ชุมชนยั่งยืน. สืบค้น 27 ตุลาคม 2565. จาก https://www.thairath.co.th/content/1193695.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-28