แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี ที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • พิรดาภร ใจหาญ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย
  • อภิกนิษฐา นาเลาห์ สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย
  • วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน สาขาวิชามานุษยวิทยาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โอทอปนวัตวิถี, การท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี, ชุมชนเข้มแข็ง, การจัดการการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโอทอป (OTOP) นวัตวิถี (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยวโอทอป (OTOP) นวัตวิถี และ (3) เสนอแนวทางในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโอทอป (OTOP) นวัตวิถี ที่เสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ในจังหวัดนครพนม การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณที่มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ คณะกรรมการการบริหารงานในกลุ่มโอทอป (OTOP) นวัตวิถี ทั้ง 12 อำเภอ อำเภอละ 1 กลุ่ม จำนวน 235 คน และเชิงคุณภาพเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ผลการวิจัยเชิงปริมาณอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า มีกระบวนการวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามโครงสร้าง มีการจูงใจในการทำงาน ประสานงานหลายวิธีทั้งทางออนไลน์ เสียงตามสาย และอื่นๆ การควบคุมขึ้นอยู่กับผู้นำ ทำงานแบบอำนวยความสะดวก ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็ง ได้แก่ สภาพแวดล้อม มีจิตสาธารณะ เครือข่ายองค์กรชุมชน การมีส่วนร่วม ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และผู้นำชุมชน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ทำให้พบปัจจัยเพิ่มเติม ได้แก่ ภูมิปัญญา ขวัญและกำลังใจ และการสนับสนุนจากภาครัฐ และแนวทางในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ควรพัฒนาบุคลากร แหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก สินค้าและบริการ เชื่อมโยงเส้นทาง และส่งเสริมการตลาดชุมชน ทุกกลุ่มสามารถนำอัตลักษณ์ทั้งเชิงภูมิศาสตร์และวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ขึ้นมาเผยแพร่ มีภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนกับชุมชน ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่ม ประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์ เชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวในชุมชนจริง มีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น ตลอดถึงการอนุรักษ์สืบสานให้ยั่งยืน

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2565.จาก https://www.cdd.go.th/.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: ครองช่าง.

จิตติมา พลศักดิ์ และ รพีภัทร ศรีไกรภักดิ์. (2563). แนวทางการบริหารจัดการชุมชนสู่กระบวนการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี กรณีศึกษาบ้านหว้าน ตำบลน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 113-124.

ธณัฐ วรวัฒน์, สัญญา เคณาภูมิ และ เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(2), 71-80.

นุจนาถ นรินทร์, เขวิกา สุขเอี่ยม, สิทธิ์ ธีรสรณ์ และ อนามัย ดำเนตร. (2564). การออกแบบการท่องเที่ยวแบบโอทอปนวัตวิถี เพื่อสร้างเสริมเศรษฐกิจชุมชนกำแพงแสนให้เข้มแข็ง. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 684-695.

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปาริชาติ คุณปลื้ม. (2562). ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(1), 14-22.

รัตนภรณ์ มุ่งช่วยกลาง. (2564). การจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีในจังหวัดขอนแก่น. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://sto.go.th/th/about/policy/20-year-strategic-plan.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม. (2565). สรุปการจัดประเภทชุมชนท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://shorturl.asia/ig0CP.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.nesdb.go.th.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-27