นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม: การเปลี่ยนแปลงของบริบทชุมชนและข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะต่อฐานวิถีชีวิตใหม่ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
นโยบายสาธารณะ, วิถีชีวิตใหม่, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของบริบทชุมชนด้านการใช้ชีวิตประจำวันภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ชุมชนตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และ (2) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะต่อการแก้ไขปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่ต้องปรับตัวบนฐานวิถีชีวิตใหม่ ภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนทั่วไปในพื้นตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านสาธารณสุข จำนวน 10 คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงทฤษฎี ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงของบริบทชุมชนด้านการใช้ชีวิตฯ ผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุ 51-60 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ระดับการศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา พักอาศัยในบ้านของตนเอง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 – 10,000 บาท มีพฤติกรรมการปรับตัวในการใช้ชีวิตประจำวันภายในบ้าน การปรับตัวในการดำเนินกิจวัตรประจำวันเมื่อออกนอกบ้าน รวมถึงการปรับตัวในการสร้างสุขอนามัยส่วนตัวเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส อยู่ในระดับที่มากที่ 4.07 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสาธารณะต่อการแก้ไขปัญหาและตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่ต้องปรับตัวบนฐานวิถีชีวิตใหม่ ในด้านเศรษฐกิจ ควรจัดทำนโยบายส่งเสริมทักษะและความรู้ในด้านการประกอบอาชีพเกี่ยวกับการบริการ การค้า และการเกษตร ให้แก่กลุ่มแรงงานทุกช่วงวัย รวมถึงนโยบายการส่งเสริมอาชีพและรายได้ ในด้านสังคมและสุขภาพ ตำบลพลายชุมพลควรมีนโยบายการส่งเสริมความรู้และทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และนโยบายการสร้างเสริมลักษณะนิสัยและวัฒนธรรมสุขภาพในชีวิตประจำวันของประชาชน
References
กฤษฎา บุญชัย. (2564). วิกฤติโควิด สาธารณสุขกำลังล่ม เร่งกระจายอำนาจสู่ประชาชน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://thaipublica.org/2021/04/kritsada-boonchai-21/.
ทักษิณา แสนเย็น, วรวุฒิ เว้นบาป, วีระพันธ์ ช่วยประสิทธิ์, กุลธวัช ศรายุทธ, และ อาภาภรณ์ หาโส๊ะ. (2563). บทวิเคราะห์การรับมือโรคโควิด 19: ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบิน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 209-220.
เบญญาพัชร์ วันทอง. (ม.ป.ป.). จิตวิทยาบุคลิกภาพ. (เอกสารประกอบการสอนรายวิชา PGED 311 จิตวิทยาบุคลิกภาพ). พิษณุโลก: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
พงษ์มนัส ดีอด. (2563). ผลกระทบของการแพร่ระบาด โรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการประกอบอาชีพบริการจัดส่งอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 131-144.
พิมพ์นภัส โภคา. (2550). การปรับตัว การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างชาติในอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2563). ตำบลพลายชุมพล. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://phitsanulok.kapook.com.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). คู่มือ ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://rb.gy/wm69w.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). ความปกติใหม่หรือฐานวิถีชีวิตใหม่. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.orst.go.th/.
สิริพร รอดเกลี้ยง. (2563). การปรับตัวของอาชีพแม่ค้า : กรณีศึกษาแม่ค้าในตลาดนับอนุสรณ์ท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 20(1), 153-170.
สุมาลี จุทอง. (2563). การจัดการภัยพิบัติโรคระบาดโควิด 19 ในพื้นที่ชุมชนริมคลองหัวหมากน้อยสำนักงานเขตบางกะปิ. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://rb.gy/nr2uw.
Emanuel, E. J., Osterholm, M., & Gounder, C. R. (2022). A national strategy for the “new normal” of life with COVID. Jama, 327(3), 211-212.
Jamaludin, S., Azmir, N. A., Ayob, A. F. M., & Zainal, N. (2020). COVID-19 exit strategy: Transitioning towards a new normal. Annals of Medicine and Surgery, 59, 165-170.
Lu, Q., Cai, Z., Chen, B., & Liu, T. (2020). Social policy responses to the Covid-19 crisis in China in 2020. International journal of environmental research and public health, 17(16), 1-14.
Malik, N., Suliswanto, M. S. W., & Rofik, M. (2021). The unemployment rate amid the COVID-19 pandemic: Propose the best practices policy to maintain labor market stability. Jurnal Ilmu Sosial Dan Ilmu Politik, 25(1), 48-61.
Nadia Belhaj, Hassine Belghith & Tanida Arayavechkit. (2021). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครัวเรือนในประเทศไทย – ข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจแบบเร่งด่วนทางโทรศัพท์. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://blogs.worldbank.org/th/eastasiapacific/phlkrathbkhxngokhwid-19-txkhraweruuexninpraethsithy.
Wister, A., & Speechley, M. (2020). COVID-19: pandemic risk, resilience and possibilities for aging research. Canadian Journal on Aging/La revue canadienne du vieillissement, 39(3), 344-347.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.