ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่ส่งผล, แรงจูงใจ, โครงการสามพรานโมเดลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐม และ (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐม จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย Independent Sample t-test และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่ม ด้วย One-Way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมาก (μ=4.84) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านความปลอดปราศจากสารเคมีที่ยั่งยืน (μ =4.88) ด้านสุขภาพ (μ=4.87) ด้านลักษณะของโครงการสามพรานโมเดล (μ=4.83) ด้านโอกาสและความก้าวหน้า (μ=4.83) และด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ (μ =4.82) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐม พบว่า ความคิดเห็นในปัจจัยส่วนบุคคลแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน เป็นการยอมรับ H0 หรือปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจของเกษตรกรในเข้าร่วมโครงการสามพรานโมเดล จังหวัดนครปฐมไม่แตกต่างกัน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2547). สรุปรายงานการเฝาระวังโรค 2547.สืบค้น 20 ธันวาคม 2565. จาก https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/annual/Annual/Annual47/part1/52-Pesticide%20poisoning.pdf.
จังหวัดนครปฐม. (2565). โครงการสามพรานโมเดล. นครปฐม: สำนักงานส่วนย่อยเพื่อพัฒนาเกษตรชุมชนและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน.
จีรภัคร อเนกวิถี, ประพันธ์ชัยกิจอุราใจ และ พีระพงษ์กิติเวชโภคาวัฒน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงาน : กรณีศึกษา โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(3), 48-58.
ณัฎฐา กุสุโมทย์ และ วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2558). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทสวัสดีช้อปจำกัด. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2558 วันที่ 24 เมษายน 2558 (น. 1117 - 1126). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ทวี มีเงิน. (2562). มูลนิธิสัมมาอาชีพ. สืบค้น 22 มีนาคม 2565. จาก https://www.right-livelihoods.org.
ธนัตถ์กรณ์ เธียรกิตติ์ธนา. (2559). แรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมที่จัดโดยงานบริหารวิชาการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Joumal, 3(2), 163-174.
มูลนิธิเกษตรยั่งยืน. (2546). เกษตรยั่งยืนวิถีการพึ่งตนเอง: โครงการนำร่องฯ ฟื้นภูมิปัญญาสร้างทุนชุมชน มูลนิธิเกษตรยั่งยืน (ประเทศไทย). กรุงเทพฯ: นกนางนวล.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อัญชลี ภักดีโทรกิจ. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานโรงแรม 5 ดาว ในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด).
Alderfer, C.P. (1972). Existence Relatedness and Growth. New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.