การศึกษาการรับรู้ศักยภาพตนเองด้านการวิจัย เจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และกรอบความคิดสู่ความสำเร็จในวิชาชีพของบุคลากรครู สำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา

ผู้แต่ง

  • อริยา คูหา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประเทศไทย
  • ฐปรัตน์ รักษ์ภาณุสิทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กรอบความคิด, การรับรู้ศักยภาพตนเองด้านการวิจัย, การวิจัยในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ความจำเป็นและความต้องการ แนวทางในการพัฒนาการวิจัยของบุคลากรครู ในสังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา (2) ศึกษาการรับรู้ศักยภาพตนเองด้านการวิจัย (3) ศึกษาเจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน และ (4) ศึกษากรอบความคิดสู่ความสำเร็จในวิชาชีพของบุคลากรครู สำนักการศึกษาเทศบาลนครยะลา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ บุคลากรครู จำนวน 114 คน ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจสภาพปัจจุบัน ความจำเป็นและความต้องการ แบบวัดการรับรู้ศักยภาพตนเองด้านการวิจัยของบุคลากรครู แบบสอบถามเจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน แบบสอบถามกรอบความคิดสู่ความสำเร็จในวิชาชีพ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.808, .797 และ .684 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า สภาพปัจจุบัน บุคลากรครู มีปัญหาประเด็นการบริหารจัดการเวลา ความรู้และความเข้าใจในงานวิจัย การทำเอกสาร การใช้เทคโนโลยี ประเด็นระเบียบวิธีการวิจัย ภาระหน้าที่ภายในสถานศึกษา ประเด็นภัยสถานการณ์ ความพร้อมของผู้เรียน ผู้ปกครองที่ส่งผลต่อศักยภาพครู ด้านการวิจัยในชั้นเรียนด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการรับรู้ศักยภาพตนเองด้านการวิจัยของบุคลากรครู สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครยะลา พบว่า ความรู้ความเข้าใจ และความสามารถด้านการทำวิจัย ได้คะแนนเฉลี่ย 13 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน เจตคติต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ความคิดจำกัดของบุคลากรครูโดยเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเติบโตของบุคลากรครู โดยเฉลี่ยรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด เจตคติของครูที่มีต่อการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความคิดเติบโตของบุคลากรครูสู่ความสำเร็จในวิชาชีพ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กฤติพงศ์ โภคาพานิช. (2563). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการพัฒนาครูของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2558). การใช้ผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้: มุมมองนักวิชาการผ่านประสบการณ์ความเป็นครู. สืบค้น 2 ธันวาคม 2565. จาก http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/ResearchExploitation.pdf.

บุญนาค ทับทิมไทย. (2557). การศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการพัฒนาวิชาชีพของครู โรงเรียนเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ประเสริฐ เรือนนะการ และ ฐิติยา เรือนนะการ. (2561). การพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของครูโรงเรียนกระบากวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 295–308.

ปัทมาภรณ์ ศรีราษฎร์ และ นันทรัตน์ เจริญกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนากรอบความคิดแบบเติบโตของครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(1), 389-399.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2545). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: เฮาสออฟเคอร์ มิสท์.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344–355.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

วิโรจน์ ธรรมจินดา. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะครูคณิตศาสตร์ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: สาขาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศริมา เสนยิ้ม, โสภณ เพ็ชรพวง และ ญาณิศา บุญจิตร. (2564). การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนบ้านหัวหมากบน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

อดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไธสง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นตรง ระดับลดหลั่น. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

อมรรัตน์ งามจิตร เพลินพิศ ธรรมรัตน์ และ วชิราวุธ ปานพรม. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครู ด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาลอากาศอํานวย (ชุมชนอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลตําบลอากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(48), 125-132.

อรนุช ศรีคำ, วิไลวรรณ ศิริเมฆา, สินีนาฏ วัฒนสุข, บรรพต วงศ์ทองเจริญ, คำจันทร์ ร่มเย็น และ สาธิตา จอกโคกกรวด.(2561). การพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนให้บุคลากรทางการศึกษา ในการพัฒนานักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 10(2), 158-169.

อิสริญญา ฉิมพลี, พงศ์เทพ จิระโร และ สมศักดิ์ ลิลา. (2560). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพบุคลากรครู โรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยาด้านการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(2), 15-35.

Chan, D. W. (2012). Life satisfaction, Happiness, and the Growth Mindset of Healthy and Unhealthy Perfectionists among Hong Kong Chinese Gifted Students. Roeper Review, 34(4), 224–233.

Harris, D. (2009). Point/Counterpoint: Teacher value-added: Don’t end the search before it starts. Journal of Policy Analysis and Management, 28(4), 693-699.

Hogan, P. (2005). LEARNING ANEW: DEVELOPING THE PROFESSIONAL SELF-UNDERSTANDING OF TEACHERS. Kwartalnik Pedagogiczny, 201(3), 69-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-05