การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อเสริมสร้างความรู้และแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • สุพิศ มีทรัพย์มั่น สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย
  • จักรกฤษณ์ จันทะคุณ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพ, ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม, ผู้ประกอบการ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อเสริมสร้างความรู้และแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ (2) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อเสริมสร้างความรู้และแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดความรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการและแบบสอบถามวัดแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระบวนการตั้งใจ ขั้นที่ 2 กระบวนการเก็บจำ ขั้นที่ 3 กระบวนการกระทำ ขั้นที่ 4 กระบวนการจูงใจ โดยมีกิจกรรม6 กิจกรรม ได้แก่ 1) ตัวแบบระดับโลก 2) ตัวแบบระดับประเทศ 3) My Idol ตัวแบบสู่อนาคต 4) เรียนให้รู้จากตัวแบบในชุมชน 5) โมเดลธุรกิจพิชิตความสำเร็จ 6) ต่อยอดธุรกิจอายุน้อยร้อยล้าน ซึ่งมีความเหมาะสมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.22/80.52 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการ หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีแรงจูงใจสู่การเป็นผู้ประกอบการ หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้การงานอาชีพตามทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 อยู่ในและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.66 ระดับมาก

References

จริยา กอสุขทวีคูณ. (2561). การศึกษาแรงจูงใจและความตั้งใจในการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จันทร์ ชุ่มเมืองปัก. (2546). แรงจูงใจและการจูงใจ สร้างปาฏิหาริย์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

บุญฑวรรณ วิงวอน. (2556). การเป็นผู้ประกอบการยุคโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ ลีอำนนต์กุล และ สำลี ทองธิว. (2553). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ตามแนวคิด การฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางธุรกิจ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(1), 141-153.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). เติบโตเต็มตามศักยภาพสู่ศตวรรษที่ 21 ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ยังเอี่ยม, พัชราณี ภวัตกุล, มันทนา ประทีปะเสน และ นิรัตน์ อิมามี. (2556). การส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 43(2), 126-137.

วัฒนา ไตต่อผล, ภูฟ้า เสวกพันธ์, วารีรัตน์ แก้วอุไร และ อมรรัตน์ วัฒนาธร. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสาธารณะตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมร่วมกับการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 1-12.

ศรัญญา อรุณภู่. (2557). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการบริการของบริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 90-102.

ศูนย์ธุรกิจไบร์ท. (2552). คุณสมบัติ 10 ประการของผู้ประกอบการ. สืบค้น 2 ตุลาคม 2565. จาก http:www.brightbbc.com/readercomer/leader.html.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีการและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานวิจัยการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภาภรณ์ โตโสภณ และ วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(2), 275-289.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ: prentice Hall.

Holmes, K. A. (2003). The reform of public technical and vocational education institution. N.P.: UNESCO, IIEP.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-24