การสำรวจสถานการณ์การทำงานของคนพิการและการพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคม เพื่อคนพิการตลอดช่วงชีวิต

ผู้แต่ง

  • มนทกานต์ ฉิมมามี สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
  • อาทิชา นราวรวัชร มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประเทศไทย
  • ญานิกา อักษรนำ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

คนพิการ, การทำงาน, ความคุ้มครองทางสังคม, งานที่มีคุณค่า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสำรวจสถานการณ์การทำงานของคนพิการในแต่ละประเภทและระดับความรุนแรงของความพิการ (2) เพื่อสำรวจสถานการณ์การส่งเสริมการทำงานของคนพิการภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 และ (3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับคนพิการตลอดช่วงชีวิต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธีแบบเป็นลำดับ เริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณและตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่ถูกจ้างงานหรือมีงานทำแบบรายได้ มีประมาณ ร้อยละ 51 ในขณะที่กลุ่มที่อยู่ในสถานะว่างงาน ไม่ได้ทำงาน ทำงานแบบไม่มีรายได้ มีประมาณ ร้อยละ 49 เมื่อพิจารณาความแตกต่างของประเภทความพิการ พบว่า กลุ่มที่เปราะบางที่สุด เป็นกลุ่มที่ไม่ถูกจ้างงานหรือไม่มีงานทำแบบมีรายได้ในสัดส่วนสูง ได้แก่ กลุ่มคนพิการทางสติปัญญา กลุ่มออทิสติก และกลุ่มคนพิการทางการเรียนรู้ กลุ่มคนพิการที่มีปัญหาในการเข้าสู่การทำงาน คือ กลุ่มวัยแรงงานต้นต้น (20-29 ปี) สะท้อนปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างระบบการศึกษาและตลาดแรงงานของคนพิการ ส่วนกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษาลงมา มีสัดส่วนผู้ที่ไม่ถูกจ้างงานหรือทำงานแบบไม่มีรายได้มากกว่าครึ่ง คนพิการที่ไม่สามารถเข้าถึงการส่งเสริมการจ้างงานตามมาตรา 33 และมาตรา 35 ได้ มีมากถึง ร้อยละ 80 สำหรับคนพิการที่ได้รับการส่งเสริมการจ้างงานตามมาตรา 35 ส่วนใหญ่ถูกจ้างแบบเหมาช่วง/จ้างเหมาบริการ ร้อยละ 68 และ กลุ่มคนพิการที่ทำงานอยู่ในตลาดแรงงานเกือบ ร้อยละ 80 ไม่มีหลักประกันสังคมใดๆ ดังนั้น จำเป็นต้องกำหนดนโยบายส่งเสริมความคุ้มครองทางสังคมด้านการทำงานของคนพิการทุกกลุ่มอย่างเหมาะสม

References

กมลพรรณ พันพึ่ง. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชา ประชากรเป้าหมายกับการบริหารการพัฒนา “นิยามความพิการ และแนวคิดเรื่องความพิการ (Model of Disability)”. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.academia.edu/9196506/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). สถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ธันวาคม 2565. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159.

กรมพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2563). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://opendata.nesdc.go.th/dataset/situation-report-on-dep.

ชนินทร์ พุ่มบัณฑิต และ กรธวัฒน์ สกลหฤคเดช. (2563). รูปแบบการจ้างงานและสวัสดิการของผู้พิการในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 15(1), 1-15.

มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ และศูนย์ศึกษาความพิการเชิงสังคม. (2557). รูปแบบและแนวทางการส่งเสริมกลุ่มอาชีพหรือสวัสดิการสำหรับคนพิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

รณรงค์ จันใด. (2563). แนวทางการจ้างงานและการส่งเสริมการมีงานทาของคนพิการในประเทศไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 12(2), 158-173.

สยามรัฐออนไลน์. (2561). รับมือ ‘สังคมสูงวัย’ ในมุมมองเมธีวิจัยอาวุโส สกว. สืบค้น 29 ธันวาคม 2565. จาก https://siamrath.co.th/n/45298.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). รายงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ: ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. (2553). คู่มือสื่อสารเพื่อการทำความเข้าใจคนพิการ. กรุงเทพฯ: องค์การแรงงานระหว่างประเทศ.

อาทิชา นราวรวัชร, ขวัญประชา เชียงไชยสกุล, สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล, มนทกานต์ ฉิมมามี, ธนานนท์ บัวทอง และ ญานิกา อักษรนำ. (2564). โครงการศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการผ่านระบบการคุ้มครองทางสังคมเพื่อคนพิการตลอดช่วงชีวิต. กรุงเทพฯ: กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ, กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.

Cheausuwantavee, T., & Keeratiphanthawong, S. (2021). Employment for Persons with Disabilities in Thailand: Opportunities and Challenges in the Labor Market. Journal of Population and Social Studies, 29, 384-400.

Edmonds, L. J. (2005). Disabled people and development. Philippines: Asian Development Bank.

UNESCAP. (2020). Employment of Persons with Disabilities in Asia and the Pacific: Trends, Strategies and Policy Recommendations. Bangkok: UNESCAP.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-29