เมืองมรดกโลกกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา พื้นที่ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
เมืองมรดกโลก, อัตลักษณ์วัฒนธรรม, การท่องเที่ยว, จังหวัดสุโขทัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทของพื้นที่และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชนในพื้นที่ตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า บริบทของพื้นที่ ในอดีตเป็นที่ตั้งของอาณาจักรแรกของประเทศไทย “สุโขทัย” มาจาก 2 คำ คือคำว่า “สุขะ” และ “อุทัย” หมายความว่า “รุ่งอรุณแห่งความสุข” ปัจจุบันได้เป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลก อัตลักษณ์มรดกทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวของพื้นที่มีทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ รวมถึงชุมชนที่มีอัตลักษณ์มรดกทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ซึ่งแบ่งได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) อัตลักษณ์ด้านศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน หมายถึง ความโดดเด่นในด้านภูมิปัญญาการสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์และศิลปะพื้นบ้าน เช่น การปั้นสังคโลก การแกะสลักไม้ การปรุงอาหารพื้นบ้าน (อาหารสำรับพระร่วง) ของชุมชนบ้านเมืองเก่า การปั้นพระ การพิมพ์พระเครื่องของชุมชนบ้านเชตุพน ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์ด้านศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านทำให้เกิดคุณค่าในเชิงประสบการณ์การท่องเที่ยว 2) อัตลักษณ์ด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม หมายถึง ความโดดเด่นในของพื้นที่ด้านภูมิศาสตร์-วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในการสร้างเมืองโบราณ กำแพงเมืองเก่า การสร้างเขื่อนดินโบราณ (เขื่อนพระร่วง) เชื่อมโยงกับสภาพภูมิประเทศและธรรมชาติที่งดงามของเขาหลวงสุโขทัยหรืออุทยานแห่งชาติรามคำแหง (พระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) ที่สะท้อนอัตลักษณ์ความงามภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชนบ้านมนต์คีรี ทำให้เกิดคุณค่าในเชิงนันทนาการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ 3) อัตลักษณ์ด้านประวัติศาสตร์-สังคมวัฒนธรรม หมายถึง ความโดดเด่นในฐานะเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองและการตั้งถิ่นฐานของคนในอดีต ที่สะท้อนรากฐานอารยธรรมสุโขทัยอันเก่าแก่และรุ่งเรือง รวมถึงการค้นพบเตาทุเรียงจำนวนมากที่เคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยชามสังคโลก ปัจจุบันชุมชนบ้านศรีชุมจึงกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทำให้เกิดคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์เพื่อการท่องเที่ยว
References
กระทรวงวัฒนธรรม. (2563). ประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟสุโขทัย มรดกโลก. สืบค้น 15 มกราคม 2566. จาก https://www.finearts.go.th/storage/contents/2020/10/file/jTzvNLGEAc5gwwaOPuNuB0lSIBbUnQT0MmL0OE75.pdf.
กุลแก้ว คล้ายแก้ว. (2557). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายใต้บริบทการเป็นเมืองมรดกโลก: แนวความคิดเห็นของผู้มีส่วนจัดการของชุมชนเมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชาชนลาวและชุมชนเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
กุลแก้ว คล้ายแก้ว. (2565). เอกสารคำสอนรายวิชา TOUR421 การท่องเที่ยวมรดกโลก. พิษณุโลก: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
คณะกรรมการสถิติสาขาการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). แผนพัฒนาสถิติสาขาการท่องที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 1 พ.ศ.2556-2558. สืบค้น 6 มิถุนายน 2565. จาก http://osthailand.nic.go.th/files/economic_sector/8.tourist.pdf.
จิรวัฒน์ พิระสันต์, พัชรินทร์ สิรสุนทร, ดำรงค์วุฒิ วิริยะ, วีรวิทย์ ฉันทวรางค์ และ ณธษา ศรัทธา. (2555). การพัฒนาชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้องค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.
จิรวัฒน์ พิระสันต์. (2554). คู่มืออัตลักษณ์ชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. สถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก: ดวงดาวการพิมพ์.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2550). อัตลักษณ์วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉัตรกมล ปิยะจารุพร. (2562). ชุดความรู้ เรื่อง การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection). กรุงเทพฯ: องค์การพัฒนาพิ้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยิ่งยืน (องค์การมหาชน).
ธงชัย สาโค. (2564). สุโขทัยเมืองพระร่วง หลักฐานใหม่ : จากเตาสังคโลกเมืองเก่าสุโขทัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.
ภานุ สรวยสุวรรณ. (2555). การวิเคราะห์สุนทรียภาพในพระพุทธรูปสุโขทัยด้วยหลักการทางทัศนศิลป์. วารสารเวอริเดียน e-journal, 5(1), 21-44.
มาเรียม นิลพันธ์. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณดี สุทธินรากร. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
วรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2563). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 464611 สถิตขั้นสูงและวิธีวิจัยทางการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรพล ชุมดวง. (2561). การบูรณาการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ด้วยต้นทุนมรดกทางวัฒนธรรม ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(3), 30-39.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2552). เมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2560). เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและพลังศรัทธา. นนทบุรี: เมืองโบราณ.
ศุภลักษณ์ สนธิชัย. (2556). 100 มรดกโลก 100 World Heritage Travel around the world. กรุงเทพฯ: อทิตตา พลับลิเคชั่น.
ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก. (2565). เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร. สืบค้น 6 มิถุนายน 2565. จาก http://164.115.22.96/heritage_culture.aspx.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2565). พิพิธภัณฑ์สังคโลก.สืบค้น 6 มิถุนายน 2565. จาก https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/538.
สันติ เล็กสุขุม. (2551). โบราณสถานกับรูปแบบสันนิษฐานมรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัยและกำแพงเพชร 2. กรุงเทพฯ: ทวีวัฒน์การพิมพ์.
สันติ เล็กสุขุม. (2561). สุโขทัย : เจดีย์อินคัลเลอร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุโขทัย. (2564). สถิติจำนวนนักท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย พ.ศ.2562. สุโขทัย: สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุโขทัย.
สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. (2565). คู่มือแผนพัฒนาจังหวัดสุโขทัย พ.ศ.2566-2570: กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. สุโขทัย: สำนักงานจังหวัดสุโขทัย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). (ร่าง) แผนพัฒนาศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570). สืบค้น 6 มิถุนายน 2565. จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf.
สำนักหอสมุดแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (2554). คู่มือการอ่านถ่ายถอดลายสือไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช. สืบค้น 6 มิถุนายน 2565. จาก https://pubhtml5.com/iytc/tucb/.
สิทธิพล เครือรัฐติกาล. (2551). แนวคิดเรื่อง Soft power และการทูตสาธารณะ (Public diplomacy). สืบค้น 3 มิถุนายน 2565. จาก http://kositthiphon.blogspot.com/2008/12/soft-power-public-diplomacy.html.
สืบค้น 6 มิถุนายน 2565. จาก https://sukhothai.mots.go.th/.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2565). สุโขทัยเมืองสร้างสรรค์ด้านศิลปะและหัตกรรมพื้นบ้าน (Sukhothai city of Folk Art and Craft). สืบค้น 6 มิถุนายน 2565. จาก https://www.file:///C:/Users/introduction sukhothai.pdf.
องค์บริหารส่วนตำบลเมืองเก่า. (2565). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2566-2570) ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. สืบค้น 6 มิถุนายน 2565. จาก https://www.mueangkao.go.th/otop.php?start=1.
Berg, B. L. (2001). Qualitative research methods for the social sciences. U.S.A.: Allyn & Bacon.
Denzin, N. (1970). Sociologocal Methods : A Source Book. Chicago: Aldine.
Lincoln, G. (1985). Naturalistic Inquiry. Beverly Hills: CA: SAGE.
Moser A., K. I. (2018). Series: Practical guidance to qualitative research. European Journal of General Practice, 24(1), 9-18.
Nye, Jr., Joseph S. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: Public Affairs.
Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. Retrieved 6 June 2022. from http://goodthinking.com.au/Wordpress/wp-content/uploads/2022/02/Creative_Tourism_and_Local_Development-2.pdf.
Richards, G., and Wilson, J. (2006). Developing creativity in tourist experiences: A solution to the serial reproduction of culture. Tourism management, 27, 1209-1223.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.