การสร้างสรรค์หนังสือภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม

ผู้แต่ง

  • วัชระ สุตะโคตร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย
  • วัฒนา ศรีวรมย์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย
  • คงฤทธิ์ รีวงษ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, หนังสือภาพถ่าย, การโฆษณา, การสื่อสารภาพลักษณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสร้างสรรค์หนังสือภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ รวมถึงบริบทคณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม (2) สร้างสรรค์หนังสือภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม และ (3) ประเมินประสิทธิภาพการสร้างสรรค์หนังสือภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม การวิจัยครั้งนี้เป็นในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ จำนวน 3 คน กลุ่มที่ 2 ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อและการโฆษณา จำนวน 3 คน โดยเลือกแบบเจาะจงบุคคล และกลุ่มที่ 3 ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม โดยการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามรูปแบบแนวคิดหลักโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ที่มีประสิทธิภาพ และแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินผลการสร้างสรรค์หนังสือภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม และแบบสอบถามการรับรู้และความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบแนวคิดหลักโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการประเมินวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก รูปแบบการสร้างสรรค์หนังสือภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ผ่านการประเมินทุกด้านจากผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณา การสื่อสารภาพลักษณ์และด้านการถ่ายภาพ จำนวน 3 ท่าน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และการรับรู้และความพึงพอใจที่มีต่อหนังสือภาพถ่ายเพื่อการโฆษณาและสื่อสารภาพลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม ได้รับการประเมินโดยใช้แบบสอบถามกับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 400 ท่าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กนกรัตน์ ยศไกร. (2555). การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทริปเปิ้ล กรุ๊ป.

คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม. (2565). ความเป็นมาของคณะ. สืบค้น 10 มกราคม 2566. จาก https://mit.npu.ac.th/?page_id=3632.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ และ สุวิภาแซ่อึ้ง, (2558). สิบรูปแบบดารสร้างนวัตกรรม หลักการสร้างพัฒนาการที่ยิ่งใหญ่. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

ณัฐกร สงคราม. (2557). การถ่ายภาพ : เทคนิคและการนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์.

ถนอมนวล สีหะกุลัง. (2550). ศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2548). รู้เท่าทันแบรนด์ Brand Literacy. กรุงเทพฯ: มติชน.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). วิจัยตลาด. กรุงเทพฯ: ท้อป.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2553). กระบวนการผลิตภาพถ่ายโฆษณา. สืบค้น 10 มกราคม 2566. จาก https://www.chonburi.spu.ac.th/comm/admin/knowledge/A4023.pdf.

วันทนา จิรธนา. (2537). กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2552). การออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สามารถ อัยกร. (2558). โปรแกรมไลน์กับการติดต่อสื่อสารภายในองค์การ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(1), 102-107.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). จำนวนประชากรและบ้านจากการทะเบียน จำแนกตามจังหวัด อำเภอและเขตการปกครอง พ.ศ. 2562-2565. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565. จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2547). การออกแบบอัตลักษณ์ : Corporate Identity. กรุงเทพฯ: core function.

เอกนฤน บางท่าไม้ และ วิโรจน์ เจียรวัชระมงคล. (2558). COMPOSITION การจัดองค์ประกอบสำหรับภาพถ่าย. กรุงเทพฯ: ไอดีซี พรีเมียร์.

Bidin, R., Muhaimi, A., & Bolong, J. (2014). Strategising corporate identity for the perception of corporate image in the selected government-linked companies (GLCs) in Malaysia. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 155, 326-330.

Nguyen, N., Leclerc, A. & Leblanc, G. (2013). The Mediating Role of Customer Trust on Customer Loyalty. Journal of Service and Management, 6(1), 96-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27