การนำนโยบายสาธารณะสู่การปฏิบัติ : การส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ธรณินทร์ เสนานิมิตร สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และการจัดการท้องถิ่น มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม ประเทศไทย
  • ชนิดาภา ชลอวงษ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และการจัดการท้องถิ่น มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม ประเทศไทย
  • บงกชมาศ เอกเอี่ยม สาขาวิชาบริหารศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ, นโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุ, นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการดำเนินนโยบาย สภาพปัญหา และข้อจำกัดของหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมการจ้างงานแก่ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก และ (3) พัฒนาแนวทางที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่าง วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และ วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่า T-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า หน่วยงานภาครัฐในแต่ละแห่งมีบทบาทที่แตกต่างกันในการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในพื้นที่ เนื่องจากมีโครงสร้างและภารกิจหน้าที่ตามกฎหมายที่แตกต่างกัน โดยสภาพปัญหาและข้อจำกัดที่พบในการดำเนินการ ได้แก่ การบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ นโยบายและกฎหมายกศักยภาพของผู้สูงอายุ และบริบททางเศรษฐกิจในพื้นที่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ปัจจัยของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยปัจจัยด้านสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา และปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ตำแหน่งงานครั้งสุดท้ายที่ได้ปฏิบัติ และความถนัดชำนาญเฉพาะด้าน ส่งผลต่อการดำเนินการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐ แนวทางที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า ภาครัฐควรขยายโอกาสและตำแหน่งงาน ปรับกฎหมายและระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐ และต้องขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือและสร้างเครือข่ายในการส่งเสริมจ้างงานผู้สูงอายุ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). ข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูงอายุประเทศไทย ปี 2562. สืบค้น 24 ธันวาคม 2563. จาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สามลดา

กาณติมา พงษ์นัยรัตน์. (2564). แนวทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุของภาคเอกชนเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกื้อ วงศ์บุญสิน, สุวาณี สุรเสียงสังข์, พัชราวลัย วงศ์บุญสิน และ สมเกียรติ เอี่ยมกาญจนาลัย. (2550). การพัฒนาประชากรวัยเรียนและวัยแรงงานเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยประชากรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวลิต สวัสดิ์ผล. (2563). นโยบายการทำงานและการจ้างงานผู้สูงอายุ: ข้อสังเกตบางประการ. วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน, 13(1), 117-132.

ณัฐหทัย นิรัติศัย. (2561). ผู้สูงอายุไทยในศตวรรษ 21. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(1), 107-115.

เทศบาลนครพิษณุโลก. (2560). ยุทธศาสตร์ 10 ปี สังคมสูงวัยเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้น 24 ธันวาคม 2563. จาก http://www.phsmun.go.th/BackOffice/ckfinder/userfiles/images/files/stategy10y_v3_full.pdf.

ธนเทพ ทองชมภู. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนํานโยบายเกี่ยวกับความโปร่งใส และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมกรมพัฒนาที่ดินไปปฏิบัติ. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 2(2), 25-52.

นราวุฒิ นุชนาคา. (2563). แรงงานผู้สูงอายุกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน ในพื้นที่ตำบลราชาเทวะ จังหวัดสมุทรปราการ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

บงกชมาศ เอกเอี่ยม คลัคก์. (2546). ทุนสังคม: ความหมายและกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเครือข่ายทางสังคมกับการพัฒนาชุมชน. วารสารการส่งเสริมและพัฒนา, 5(3), 218-223.

มยุรี อนุมานราชธน. (2549). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2562. สืบค้น 24 ธันวาคม 2563. จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610945020-322_0.pdf.

สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 24 ธันวาคม 2563. จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=49742&filename=house2558_2.

สิน พันธุ์พินิจ. (2549). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด

Kooreman, P., & Wunderink, S. (1997). The economics of household behavior. London: Bloomsbury Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-02