การพัฒนาด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา โรงเรียนวัดปากบึง สำนักงานเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • มงคล จิตรโสภิณ มหาวิทยาลัยปทุมธานี ประเทศไทย
  • ประภัสสร ยุวชิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี ประเทศไทย
  • ขวัญธิศศรา อภิสุขสกุล มหาวิทยาลัยปทุมธานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนาด้านสติปัญญา, เด็กปฐมวัย, กิจกรรมเกมการศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างเกมการศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา (3) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการด้านสติปัญญาก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดปากบึงสำนักงานเขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) เกมการศึกษาจำนวน 18 เกม 2) แบบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที (t-test Dependent) ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของเกมการศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 80.66/94.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของเกมการศึกษา เท่ากับ 0.70 นั่นคือผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นหลังเรียนร้อยละ 70 ผลพัฒนาการด้านสติปัญญาหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาด้วยเกมการศึกษาสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ เกมเป็นสื่อที่น่าสนใจ มีสีสันสวยงามน่าเล่น เกมเป็นสิ่งที่ฉันชอบ และมีเกมใหม่ๆ ที่ท้าทายมาสอดแทรกในการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาช่วยให้ฉันมีความเพลิดเพลินสนุกสนานกับการเรียน

References

กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานการศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์พัฒนาการเด็กเขตสุขภาพที่ 6 เดือนกันยายน 2563. สืบค้น 20 มีนาคม 2564. จาก https://hpc6.anamai.moph.go.th/th/c-it/download?id=62611&mid=32851&mkey=m_document&lang=th&did=18506.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2554. กรุงเทพาฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

คณะกรรมการวิสามัญศึกษา. (2563). รายงานผลการศึกษาคณะกรรมการวิสามัญเด็กปฐมวัย. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://bmc.go.th/wp-content/uploads/2021/02/รายงานผลการศึกษาคณะกรรมการวิสามัญเด็ปฐมวัย.pdf.

จงจิต เค้าสิม และ สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2564). เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตรพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอนหลักสูตร. สนุกกับเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย หน่วยพัฒนาครูครุศาสตร์ปัญญา. ขอนแก่น: สถาบันคุรุพัฒนา.

ชุลิตา ศรีระวงษ์. (2559). ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนวัดปากบึง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

น้ำผึ้ง สมตัว. (2562). การพัฒนาสมาธิสำหรับเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นโดยใช้กิจกรรมงานประดิษฐ์. วารสารศิลปการจัดการ, 3(2), 83-90.

ปณิชา มโนสิทธยากร. (2553). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต. (การศึกษามหาบัรฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พัฒน์นรี จันทราภิรมย์ และ ธมนวรรณ โสพันธ์. (2565). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา. วารสารเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 1(1), 57-69.

ฟาฮาดาร์ บิลเส็ม. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ชุดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3. วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(7), 87-98.

วัลลี แสงแก้วสุข. (2564). การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2556). กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาเด็กอนุบาล (เกมการศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการศึกษาเอกชน.

สุพัตรา เลขาวิจิตร. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 3(8), 9-22.

สุภาวิณี ลายบัว. (2559). การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล. ปทุมธานี: คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อัชราภรณ์ ฟักปลั่ง และ ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2564). การพัฒนาเกมการศึกษาโดยใช้สื่อจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 16(2), 139-150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21