การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศโคราช
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์, กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ, กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STADบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนสารสาสน์วิเทศโคราชชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้งชายและหญิงจำนวน 19 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test one group ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศก่อนเรียนหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.053, Sig. = 0.003) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD E1/E2 มีค่าเท่ากับ 71.70/78.13 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = 4.27, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ฉันทพัฒน์ อุตตะมา. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบ STAD. สืบค้น 23 มกราคม 2563. จาก https://www.gotoknow.org/posts/553956.
ประภาพันธ์ บุญยัง, สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์ และ สมสิริ สิงห์ลพ. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. JOURNAL OF EDUCATION NARESUAN UNIVERSITY, 18(4), 223–237.
ประวีณ์นุช ศิริบูรณ์. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำพื้นฐานโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
ภริตา ตันเจริญ, นพมณี เชื้อวัชรินทร์, สมศริ สิงห์ลพ และ เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์. (2561). ผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ที่มีต่อการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติต่อการเรียนเรื่องการพัฒนาทักษะชีวิตหน่วยการเรียนระบบนิเวศของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(2), 188–196.
มณัสนันท์ ปัดไชยสง. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในหัวข้อเรื่องยีนและโครโมโซม โดยเทคนิค TGT ร่วมกับ STAD. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี).
วรางคณา เจริญรักษา และ วิภาดา ประสารทรัพย์. (2565). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อวิชาวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(1), 300-313.
วิภา สิทธิ์หิรัญรัตน์. (2557). การศึกษาเปรียบเทียบการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคสเเต็ดระหว่างห้องเรียนเสมือนแบบปกติกับห้องเรียนเสมือนที่มีการช่วยเสริมศักยภาพทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยาการสารสนเทศดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูนิเคชัน.
สุรชัย ศรีวรชัย, บุญรอด ดอนประเพ็ง และ บัวกัน สำราญ. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ (STAD) ในรายวิชาฟิสิกส์ เรื่องคลื่นกล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวังกระแสวิทยาคม จังหวัดนครพนม. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 217-227.
ฮุสนา สาและ, ณัฐินี โมพันธุ์ และ ธิดารัตน์ วิชัยดิษฐ์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับการแสดงทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านลูโบะบูโละ อําเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 27-41.
Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. (2nd ed.). Massachsetts: A Simom & Schuster.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.